Page 252

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

232 2) ควรจัดตั้งแหล่งพันธุกรรมไผ่ป่านอกถิ่นกำเนิดในแหล่ง (ประชากร) ที่มีอยู่ใกล้ชุมชนและที่ ล่อแหลมต่อการบุกรุกทำลาย เช่น ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) ควรจัดตั้งแปลงปลูกไผ่ป่าเพื่อเป็นธนาคารอาหารชุมชน (Food bank) เพื่อลดความกดดันใน การเข้าไปตัดเอาหน่อและกล้าไผ่ป่าอย่างเกินกำลังไผ่ป่าตามธรรมชาติ (รังสัน และสุจิตรา, 2548) 6. กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilu exul) การศึกษาดังกล่าวขั้นต้นทำให้ได้ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีแหล่งต่างๆ โดย แหล่งอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ และแหล่งเกาะน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เป็นแหล่งที่มีค่า ความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง จึงควรใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้า นารีเหลืองกระบี่ในถิ่นกำเนิด และควรให้มีการฟื้นฟูความหลากหลายทางพันธุกรรมในพื้นที่อื่นๆ ที่มีค่าความ หลากหลายทางพันธุกรรมที่ต่ำ เช่น แหล่งเกาะนัก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อย่างไรก็ตามการพิจารณา การอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิด ควรมีการดำเนินการขึ้นด้วย หากแหล่งกระจายพันธุ์ทางธรรมชาติ ล่อแหลมต่อการบุกรุกและลักลอบใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ (จักรพันธ์ และสุจิตรา, 2548) 7. ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) 7.1 การศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) สามารถนำผลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมมาใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดและ นอกถิ่นกำเนิด โดยการคัดเลือกแหล่งของประชากรที่เหมาะสม ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สบ.1 (ท่ามะปราง) จ.สระบุรี มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมมากที่สุด กล่าวคือ มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (He = 0.63) ในขณะที่ความหลากหลาย ทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากอุทยานแห่งชาติภูพานจังหวัดสกลนคร มีค่าต่ำกว่า แหล่งอื่นโดยมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (He = 0.29) โดยที่ค่าเฉลี่ยของความหลากหลายทาง พันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ทั้ง 12 แหล่งมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (He = 0.39) และความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง (Fst) ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) พบว่ามีค่า Fst = 0.18 เมื่อพิจารณาจากประชากรของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ทั้ง 12 ประชากร พบว่า ประชากรของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สบ. 1 (ท่ามะปราง) จังหวัด สระบุรี (ภาคกลาง) มีความเหมาะสมในการเลือกเป็นตัวแทนสำหรับการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิด (In situ gene Conservation) เนื่องจากมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยและสูงกว่าประชากรไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากแหล่งอื่นๆ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี (ภาคอีสานตอนบน) อุทยานแห่งชาติตาดโตน จังหวัดชัยภูมิ (ภาคอีสานตอนบน) และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ (ภาคอีสานตอนล่าง) ควรได้รับการพิจารณาเป็นแหล่งอนุรักษ์ ในถิ่นกำเนิดเช่นกัน เนื่องจากมีค่าความหลากหลายทางพัน ธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ศึกษา โดยมีค่า He = 0.46, 0.40 และ 0.49 ตามลำดับ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึง มีข้อเสนอแนะให้จัดทำแหล่งอนุรักษ์ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในถิ่นกำเนิดในพื้นที่ภาคกลาง 1 แหล่ง ภาคอีสานตอนบน 2 แหล่ง และภาคอีสานตอนล่าง 1 แหล่ง ตามแหล่งดังกล่าวข้างต้นตามลำดับ นอกจากนี้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above