233 ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ยควรมีการพิจารณา การจัดการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดและมีการฟื้นฟูป่าไม้ในอุทยานดังกล่าว (สุจิตรา และคณะ, 2561) 7.2 การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะกับแหล่งที่มาของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) พบว่าได้ว่ารูปแบบดีเอ็นเอที่พบในไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในแหล่งธรรมชาติของภาคกลางมี รูปแบบดีเอ็นที่แตกต่างจากรูปแบบดีเอ็นเอของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในภาคอีสานอย่างสิ้นเชิง และพบว่ามีรูปแบบดีเอ็นเอที่พบเฉพาะถิ่นคือ รูปแบบดีเอ็นที่ 4 พบเฉพาะจังหวัดในภาคอีสานตอนบน รูปแบบดีเอ็นเอที่ 9 พบเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบดีเอ็นเอที่ 7 และ 12 พบเฉพาะที่จังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 11 พบเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 3 พบเฉพาะจังหวัดสระบุรี และรูปแบบ ดีเอ็นเอที่ 2 10 และ 8 พบเฉพาะที่จังหวัดมหาสารคาม ผลของรูปแบบดีเอ็นเอดังกล่าวสามารถใช้แยก แหล่งที่มาของไม้พะยูง(D. cochinchinensis) ได้นอกจากนี้รูปแบบของดีเอ็นเอของป่าปลูกในจังหวัด กำแพงเพชรเหมือนกับรูปแบบดีเอ็นเอในจังหวัดอุบลราชธานีและรูปแบบดีเอ็นเอของป่าปลูกในจังหวัดตรังมี รูปแบบดีเอ็นเอเหมือนกับป่าในจังหวัด บุรีรัมย์ มหามาสารคาม ขอนแก่นและบึงกาฬ ผลการศึกษาครั้งนี้ รองรับการพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ถูกลักลอบตัดที่ผิดกฎหมายได้ในอนาคต และกำลังจะดำเนินการขยายผลในการศึกษาในระดับภูมิภาคเพื่อการระบุแหล่งที่มาของไม้ที่ผิดกฎหมายใน ภูมิภาค (สุจิตรา และคณะ, 2562) 8. ไม้ชิงชัน (D. oliveri) 8.1 การศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ชิงชัน (D. oliveri) จากผลการศึกษา พบว่า ไม้ชิงชันจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด กล่าวคือมีค่า He = 0.84 โดยที่ค่าเฉลี่ยของความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ชิงชันทั้ง 12 ประชากรมี ค่า He = 0.77 ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่งของไม้ชิงชัน พบว่ามีค่า Fst = 0.13 เมื่อพิจารณา จากประชากรของไม้ชิงชันทั้ง 12 ประชากร พบว่าประชากรของไม้ชิงชันจากอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ มีความเหมาะสมในการเลือกเป็นตัวแทนสำหรับการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิด ( In situ gene conservation) เนื่องจากมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยและสูงกว่าประชากรไม้ชิงชัน จากแหล่งอื่นๆ อย่างไรก็ตามจะต้องมีการพิจารณาข้อมูลด้านอื่นร่วมด้วย (สุจิตรา และคณะ, 2564) 8.2 การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะกับแหล่งที่มาของไม้ชิงชัน (D. oliveri) ตัวอย่างใน 15 ประชากร 4 ภูมิภาค พบรูปแบบดีเอ็นเอในคลอโรพลาสต์จีโนมรวม 32 รูปแบบ พบรูปแบบดีเอ็นเอมีการ ปรากฏในสัดส่วนที่แตกต่างกัน รูปแบบดีเอ็นเอที่พบมากที่สุดได้แก่ H25 ซึ่งพบใน 4 ประชากรจากทั้งหมด 15 ประชากร โดยคิดเป็น 27.03 % และมีรูปแบบดีเอ็นเอ 29 รูปแบบ ที่พบเฉพาะประชากรใดประชากร หนึ่ง โดยรูปแบบดีเอ็นเอของประชากรของไม้ชิงชันใน 4 ภูมิภาคมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ ยังพบรูปแบบดีเอ็นเอที่จำเพาะในแต่ละกลุ่มประชากรทำให้สามารถแยกจังหวัดและกลุ่มประชากรได้ยกเว้น 4 ประชากรในภาคเหนือคือ จ.ลำปาง และ จ.เชียงใหม่ ยังไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ ข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการบ่งชี้แหล่งกำเนิดได้ เพื่อ นำไปประยุกต์ใช้ ขยายผล งานปกป้องคุ้มครองพันธุ์ไม้ป่าและนิติวิทยาศาสตร์ป่าไม้ (สุจิตรา และกิตติยา, 2564)
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above