Page 254

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

234 ส่วนการจำแนกชนิดพันธุ์โดยดีเอ็นเอบาร์โค้ดและการถอดรหัสพันธุกรรมสรุปได้ดังนี้ 1. การศึกษาดีเอ็นเอบาโค้ด ได้จัดทำดีเอ็นเอบาโค้ดจากพันธุ์ไม้ป่าหวงห้ามและไม้ป่าในบัญชี CITES ในประเทศไทย โดยการสกัดดีเอ็นเอจากใบและเปลือกของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด จำนวน 579 ตัวอย่าง และถอดรหัสพันธุกรรมของดีเอ็นเอในคลอโรพลาสจีโนม 3 ตำแหน่ง คือ Maturase K, rbcl (Ribulose Bisphosphate Carboxylase large chain) และ trnH-psbA (intergenic spacer) พบว่าสามารถจำแนก ได้ 65 วงศ์ (Family) 140 สกุล (Genus) และ 240 ชนิด (Speciese) ซึ่งสอดคล้องกับการจำแนกทาง อนุกรมวิธาน 2. การจำแนกไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ออกจากไม้ที่มีลักษณะเนื้อใกล้เคียงกัน สามารถทำได้โดยการศึกษาความแตกต่างของลำดับบิวคลีโอไทด์ที่จำเพาะ พบว่าไม้พะยูง (D. cochinchinensis) มีลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างจากไม้ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) ไม้ชิงชัน (D. oliveri) กระพี้เขาควาย (D. cultrata) และเก็ดดำ (D. assamica) ถึง 41 ตำแหน่ง โดยไม้ พะยูง (D. cochinchinensis) มีลำดับนิวคลีโอไทด์แตกต่างจาก ชิงชัน (D. oliveri) 19 ตำแหน่ง, กระพี้เขา ควาย (D. cultrata) 19 ตำแหน่ง เก็ดดำ (D. assamica) 16 ตำแหน่ง และประดู่ (P. macrocarpus) 49 ตำแหน่งกับไม้แต่ละชนิดสามารถนำเสนอให้ ไซเตส: อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ควบคุมการค้าระหว่างประเทศของผลิตภัณฑ์ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) เพราะสามารถจำแนกไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ออกจากไม้ชนิดอื่นๆจากผลิตภัณฑ์ไม้จากการ วิเคราะห์ทางดีเอ็นเอ (Changtragoon and Singthong, 2016) 3. การจำแนกพันธุกรรมของไม้สะเดาไทย (Azadirachta indica var siamensis) และ สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica) พบว่ามีความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ที่จำเพาะ 10 ตำแหน่ง อย่างชัดเจนจึงควรผลักดันให้มีการเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์ของไม้สะเดาไทยเป็น Azadirachta siamensis แทน Azadirachta indica var siamensis ซึ่งประเทศไทยควรจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมของไม้ ชนิดนี้ทั้งในถิ่นและนอกถิ่นกำเนิดเนื่องจากมีความจำเพาะทางพันธุกรรมกับประเทศไทย และควรอนุรักษ์ แหล่งกำเนิดและเพื่อนำไปขยายผลพัฒนาต่อยอดด้านการใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต (สุจิตรา, 2554) 4. การพิสูจน์ไม้โกงกางว่าเป็นลูกผสมหรือไม่และเกิดจากการผสมของไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) กับไม้โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) หรือไม่นั้นพิสูจน์โดย การถอดรหัสพันธุกรรมโดยยีนในนิวเคลียส 3 ยีน พบว่าไม้โกงกางลูกผสมดังกล่าวมียีนที่จำเพาะของทั้งไม้ โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) จึงสรุปได้ว่าไม้โกงกางลูกผสมเป็น ลูกผสมระหว่างไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) จริง และการ พิสูจน์ว่าไม้โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) หรือใบใหญ่เป็นต้นแม่ของไม้โกงกางลูกผสมดังกล่าวทำโดยการ การถอดรหัสพันธุกรรมในคลอโรพลาสต์ยีนในไม้โกงกางลูกผสมดังกล่าว โดยเปรียบเทียบระหว่างไม้โกงกาง


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above