235 ใบเล็ก (R. apiculata) และไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) พบว่าไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) เป็นต้นแม่และยีนที่จำเพาะถูกถ่ายทอดโดยไม้โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) (Changtragoon et al., 2016) คดีนิติวิทยาศาสตร์ป่าไม้โดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและการถอดรหัสพันธุกรรม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้แสดงภาพลักษณ์ให้เห็นว่าเป็นหน่วยงานของชาติที่ ช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้ผู้กระทำผิดกรณีลักลอบตัดไม้ได้รับโทษตามกฎหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือนอกพื้นที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์ พืช เช่น วัด สวนป่า เท่าที่ผ่านมาตำรวจได้ให้ความไว้วางใจและขอความอนุเคราะห์และขอความร่วมมือให้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ช่วยตรวจสอบพันธุกรรมของ ขี้เลื่อยไม้ ชิ้นไม้ และต้นไม้ที่ต้อง สงสัยอย่างต่อเนื่องจะเห็นได้ว่าจากการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอสามารถ นำมาใช้ในการระบุชนิดพันธุ์ของต้นไม้ได้ดังกรณีศึกษาของคดีนิติวิทยาศาสตร์ 7 คดี กล่าวคือ 1. ไม้ขี้เลื่อยของกลางไม่ได้มาจากชิ้นไม้กฤษณา (Aquilaria crassna) (สุจิตรา, 2560) 2. ในกรณีของไม้มะม่วง (Mangifera sp) ของกลางสามารถพิสูจน์ได้โดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ใน ดีเอ็นเอได้ว่ามาจากมะม่วงพันธุ์พื้นเมือง (มะม่วงบ้าน) ไม่ใช่ไม้มะม่วงป่า (Mangifera sp) ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม Changtragoon et al. (2017) 3. ผลการศึกษาวิจัยตัวอย่างเนื้อไม้ของกลางการวิเคราะห์ลักษณะทางกายวิภาคของไม้ และจาก การหาลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วน trnH-psbA spacer region พบว่าลักษณะทางกายภาพและดีเอ็นเอของ ชิ้นไม้ของกลางเหมือนกับไม้บุนนาค/นากบุด (Mesua ferrea) 4. ในกรณีการพิสูจน์ว่าไม้สัก (Tectona grandis) ของกลางที่ถูกจับกุมเป็นไม้สักที่ถูกตัดมาจาก สวนป่าหรือไม่นั้นพบว่าท่อนไม้สักที่ถูกลักลอบตัดมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับไม้สักที่ถูกตัดในสวนป่า 5. ในกรณีการพิสูจน์ชิ้นไม้ของกลาง 142 ชิ้นพบว่ามีชิ้นไม้ของกลาง 2 ชิ้นมีลักษณะทางพันธุกรรม เหมือนกับไม้พะยูงต้นหนึ่งที่ถูกลักลอบตัดจากอุทยานแห่งชาติ (สุจิตรา, 2560) 6. กิ่งและเนื้อไม้พะยูงต้องสงสัยมีลักษณะทางพันธุกรรมไม่เหมือนกับต้นพะยูงที่ถูกลักขุดยกเอาไป 7. วัตถุพยานไม้ของกลางเป็นไม้พะยูงและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับต้นพะยูงที่ถูกลักลอบ ตัดภายในวัดที่เกิดเหตุ รายละเอียดวิธีการศึกษาและผลการศึกษาได้แสดงสรุปผลสังเขปไว้ดังตารางที่ 26.2
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above