Page 39

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

19 ไม้กระถินณรงค์ได้มีการตรวจความถูกต้องของ controlled crosses 7 คู่ผสม และพบว่ากล้าไม้ที่ไม่ใช่ ลูกผสมที่แท้จริงมีอยู่ถึงมากกว่า 60% จากคู่ผสม 2 คู่ (Changtragoon, 2000) นอกจากนี้การใช้ RAPD’s โดย Roy et al. (1992) พบว่าเกิด pollen contamination ในการทำ controlled crosses ของ Betula alleghaniensis -การตรวจเช็คความปนเปื้อนของ pollen (pollen contamination) ในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าส่วนหนึ่งของการปรับปรุงพันธุ์คือการทำ seed orchard ซึ่งได้มาจาก การคัดเลือกแม่ไม้ที่มีลักษณะตามต้องการ แล้วนำมาปลูกรวมกันเพื่อให้ผลิตเมล็ดไม้จากต้นแม่ไม้ที่ต้องการ การใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ (isoenzyme markers) เข้าช่วยตรวจเช็คทำให้ทราบว่า การทำ seed orchard ของพันธุ์ไม้ที่คัดเลือกมีการปนเปื้อนของ pollen จากที่อื่นหรือไม่ดังในการศึกษาของ Wang et al. (1991) ใน Scots pine seed orchard พบว่า มีการปนเปื้อนของ pollen ที่มาจากต้นไม้ที่ไม่ได้คัดเลือก มากกว่า 50% และใน Douglas fir มีสูงถึง 21-89% (Wheeler and Jech, 1992) ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ ศึกษาได้จาก Finkeldey (1998), Finkeldey and Hattemer (1993) และ Hattemer et al. (1993) 1.4.3 การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสายพันธุ์และ clone (Species and clone identification) การมีข้อมูลทางพันธุกรรมที่แน่นอนของพันธุ์ไม้ ไม่ว่าระดับชนิดหรือ clone มีความสำคัญต่อการ ปรับปรุงพันธุ์ และอนุรักษ์พันธุ์ไม้แต่ละชนิดMolecular genetic markers ได้ถูกนำใช้ในการวินิจฉัย (identify) พันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่าทั้งในระดับชนิด และ clone เช่นการใช้ isoenzymes ในการศึกษา ความแตกต่างทางพันธุกรรมของไม้สะเดาไทย (Azadirachta indica var. siamensis) สะเดาอินเดีย (A. indica) และไม้เทียม (A. excelsa) ทำให้ทราบสถานภาพทางพันธุกรรมของไม้สะเดาไทยที่แตกต่างจาก ไม้สะเดาอื่น ๆ อย่างเด่นชัด (Changtragoon et al., 1996a) สำหรับ nuclear RELP’s ได้นำมาจำแนกไม้ Populus tremuloides และ P. grandidentata ออกจากกันได้ สำหรับ chloroplast RELP’s ก็นำมาจำแนกความแตกต่างทางพันธุกรรมพันธุ์ไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) และสามใบ (Pinus Khaya) โดย Szmidt et al. (1996a) ในระดับ clone นั้น Molecular genetic markers ที่นำมาวินิจฉัย fingerprinting มีทั้ง isoenzyme markers ในไม้สะเดาไทย (สุจิตรา และคณะ, 2536) ไม้กระถินณรงค์ (Acacia auriculiformis) และไม้สัก (Tectona grandis) (Changtragoon, 1996) ซึ่งพบว่ามีการเขียนเบอร์ clone ผิด และมีความ ผิดพลาดในแปลงกรรมพันธุ์ (clone bank) ส่วน RAPD markers ได้มีการใช้จำแนกหวาย 9 ชนิดออกจากกันได้ (Changtragoon et al., 1996b) และมีการจำแนกต้นที่ได้มาจาก full sibed family ในไม้ Picea glauca (Hong et al., 1992) อย่างไรก็ตามการจำแนกชนิดไม้หลายชนิดโดยดีเอ็นเอบาร์โค้ดและโดยเครื่องหมายดีเอ็นเอในไม้ สกุล Dalbergia spp. การพิสูจน์ลูกผสมในไม้โกงกางลูกผสมได้กล่าวโดยละเอียดในบทถัดๆ ไป


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above