20 1.4.4 เครื่องหมายที่ช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการ (Marker assisted selection) การคัดเลือกลักษณะที่ต้องการของพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในระดับอุตสาหกรรมวิธี หนึ่งที่ช่วยได้คือการใช้ Molecular genetic markers ที่สัมพันธ์ (link) กับลักษณะที่ต้องการซึ่งเรียกว่า Quantitative Trait Loci (QTLs) โดยการทำ mapping ด้วย isoenzymesในไม้ Picea glauca, Picea nigra, Pinus rigida และ Pinus albicaulis (Weeden, 1989) สำหรับ RAPD’s ได้มีการทำในไม้ตระกูล สน เช่นในไม้ Picea glauca (Tulsieram et al., 1992) นอกจากนี้ยังมีการหาความสัมพันธ์ (link) RAPD’s merkers กับยีนที่ควบคุม ความหนาของเปลือกในไม้ Pinus elliotti และ Pinus caribaea (Dale et al., 1993) ส่วน RFLP’s map ได้มีการทำในไม้ Eucalyptus nitens (Byrne et al., 1992) และในไม้ Pinus taeda (Neale et al., 1989) 1.5 สรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ จะเห็นได้ว่าการศึกษาพันธุศาสตร์ป่าไม้ ในการศึกษาพันธุกรรมและความหลากหลายทาง พันธุกรรมของไม้ป่าโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรม (Molecular genetic markers) ได้ถูกนำมา ประยุกต์ใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านเช่น การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า การอนุรักษ์พันธุ์กรรมไม้ป่า การปลูกสร้าง สวนป่าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (Bergman and Hattemer, 1998; Szmidt and Wang, 1991; Williams and Neale, 1992; Finkeldey and Hattemer, 1993; Changtragoon and Szmidt, 1997; Haines, 1994) โดยที่ Isoenzyme และ DNA fingerprinting ได้ถูกนำมาวินิจฉัยลักษณะพันธุกรรมของแม่ไม้ที่มี ลักษณะดี plus trees และพิสูจน์ลูกผสมจากการผสมข้าม (Changtragoon, 1996; 2000; Changtragoon et al., 1998) การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและระบบการสืบพันธุ์ได้มีการนำเอา isoenzyme, RAPD’s RFLP’s และ microsatellites มาใช้ศึกษาเพื่อใช้คัดเลือกและประเมินว่าแหล่งไม้แหล่งใดของแต่ ละชนิดเหมาะสมต่อการปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ป่าชนิดนั้น ๆ ข้อมูลดังกล่าวที่ได้สามารถ นำมาหาจำแนกแหล่งพันธุกรรมของเมล็ดไม้และสามารถนำมาพิจารณาคัดเลือกว่า เมล็ดและท่อนพันธุ์แหล่ง ใดเหมาะสมต่อการนำมาปลูกสร้างสวนป่าเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรายละเอียดในการทำวิจัย ความหลากหลายทางพันธุกรรมพันธุ์ไม้ป่าและพืชป่าบางชนิดเพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่า และปลูกป่า จะกล่าวซ้ำถึงรายละเอียดในบทถัดๆ ไป นอกจากนี้การศึกษาเครื่องหมายโมเลกุล (markers) ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ไม้ป่า เช่น ความหนาแน่นของเนื้อไม้ ความยาวของ fiber ปริมาณ lignin ในเนื้อไม้ โดยการใช้ markers เช่น isoenzyme, RAPD’s RFLP’s และ microsatellites มาช่วยในการคัดเลือกและหาความสัมพันธ์กับ ลักษณะที่ต้องการ (QTL’s trait loci) โดยการทำ Mapping ซึ่งสามารถนำมาช่วยการปรับปรุงพันธุ์และ คัดเลือกลักษณะของพันธุ์ไม้ที่ต้องการได้ และย่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิมได้มาก นอกจากนี้ การศึกษา somaclonal variation ในพันธุ์ไม้ที่ถูกขยายพันธุ์ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ได้ มีการใช้ RAPD และ RELP’s markers มาใช้ในการตรวจสอบ
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above