Page 41

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

21 อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยและการประยุกต์ใช้ดังกล่าวข้างต้นมีอย่างกว้างขวางในประเทศที่ พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศไทยถืออยู่ในระดับกลาง เมื่อเทียบกับป ระเทศ เพื่อนบ้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านงบประมาณและผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาวิจัย ซึ่งรัฐบาลควรจะให้ ความสำคัญและให้การสนับสนุนการวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถที่จะนำมาช่วยในการจัดการ ทรัพยากรด้านพันธุกรรมป่าไม้ให้อยู่อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบในการ ปรับปรุงพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคตทั้งทางด้านอาหาร ยารักษา โรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ ซึ่งยังสามารถเอื้อประโยชน์ได้ในอนาคต ซึ่งเรายังอาจมองไม่เห็นและ คิดไม่ถึงอีกมาก ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อมที่ดี โดยช่วยให้มีอากาศบริสุทธิ์ ฝนตกตามฤดูกาลและ แหล่งน้ำให้ยั่งยืนตลอดไป การพัฒนาการศึกษาวิจัยดังกล่าวข้างต้นยังสามารถช่วยรับรองและคุ้มครองไม้ป่าที่ได้มีการพัฒนา สายพันธุ์ที่ดี หรือไม้ป่าพันธุ์ใหม่ในการจดสิทธิบัตร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าและประเทศ ไทยในอนาคตได้อีกด้วย นอกจากนี้หากเรามีฐานข้อมูลทางพันธุกรรมไม้ป่าที่มีค่าทางเศรษฐกิจก็ย่อมสามารถป้องกันและ ติดตามการลักลอบทรัพยากรทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าไม่ให้ออกไปนอกประเทศได้ (สุจิตรา, 2543)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above