Page 42

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

22 บทที่ 2 การอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมป่าไม้ หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมป่าไม้ ตั้งแต่ช่วงต้นคริสศตวรรษ 1970 ได้มีความกังวลและห่วงใยของทั่วโลกอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ อัตราการบุกรุกทำลายป่าของป่าเขตร้อน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลายาวนาน มีการเพิ่มอัตราการ บุกรุกทำลายป่าตั้งแต่ต้นคริสศตวรรษที่ 1960 เนื่องจากผลของการค้าขาย การปรับปรุงการคมนาคม เศรษฐกิจและการเพิ่มของจำนวนประชากร (International Tropical Timber Organization, 2005) เนื่องจากการ บุกรุกทำลายป่าในประเทศกำลังพัฒนามีอัตราที่สูง จึงทำให้ได้มีการจัดทำโครงการปลูกป่าและการ อนุรักษ์ป่าไม้ อย่างไรก็ตามประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมถึงประเทศไทยมักใช้การบริหารจัดการการอนุรักษ์ พันธุกรรมไม้ป่าโดยการวิธีการดั้งเดิม (Conventional means) เช่น การทดสอบถิ่นกำเนิด (Provenance trials) และการทดสอบหมู่ไม้ (Progeny tests) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้บางโครงการการอนุรักษ์พันธุกรรมและการปลูกป่าได้มีการดำเนินการโดยขาดความรู้ ความเข้าใจของข้อมูลทางพันธุกรรมแต่ละหมู่ไม้ เช่น ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความผันแปรทาง พันธุกรรม ระบบการสืบพันธุ์ ซึ่งในระยะยาวอาจมีผลต่อความอยู่รอด การเจริญเติบโตและผลผลิตได้ (Changtragoon, 1998) ข้อมูลพื้นฐานหนึ่งที่ต้องการสำหรับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร พันธุกรรมของไม้ป่า คือ ความเข้าใจพลวัตรทางชีววิทยาของความผันแปรทางพันธุกรรมที่มีอยู่ภายในและ ระหว่างแหล่งของชนิดพันธุ์ไม้ ซึ่ง Changtragoon and Szmidt (1993) ได้เสนอแนะว่าการประเมินความ หลากหลายทางพันธุกรรมและระบบสืบพันธุ์ของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด ควรที่จะดำเนินการโดยใช้เครื่องหมาย โมเลกุล (Molecular markers) ให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมของชนิดพันธุ์หนึ่งๆ นั้นจะต้องเริ่มต้น จากการมี วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ที่ชัดเจน กล่าวคือ 1. ทรัพยากรทางพันธุกรรมที่ถูกคัดเลือกเพื่อการอนุรักษ์ควรจะ ต้องมีข้อมูลพื้นฐานด้านพันธุกรรม เพื่อเป็นแนวทางในตัดสินใจและวางแผนการอนุรักษ์ 2. การอนุรักษ์พันธุกรรมควรมีการดูแลให้มีการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติของทรัพยากรพันธุกรรม ของชนิดพันธุ์ที่คัดเลือกให้ได้อย่างยั่งยืน (Hattemer, 1995; Finkeldey and Hattemer, 1993) Finkeldey (1998) ได้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายยีน (Gene markers) เป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการคัดเลือกทรัพยากรทางพันธุกรรมที่เหมาะสม เพราะสามารถ ทราบถึงศูนย์กลางของความหลากหลายทางพันธุกรรมและความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง (ประชากร) ซึ่งสามารถวินิจฉัยและจำแนกให้ทราบได้ อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถที่จะทำให้ทราบได้ว่าแหล่ง(ประชากร)ใดที่มียีนที่หายากหรือยีนที่จำเพาะ เฉพาะแหล่งที่มีความถี่ของยีนสูง ซึ่ง Brown (1978) กล่าวว่าการที่ยีนที่จำเพาะของแหล่ง (ประชากร)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above