Page 43

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

23 หนึ่งๆที่มีความถี่ของยีนสูงถือว่าเป็นแหล่งทรัพยากรทางพันธุกรรมที่มีคุณค่า จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูล หลายด้านมาประกอบการพิจารณาคัดเลือกแหล่งที่เหมาะสมต่อการอนุรักษ์ จึงมีความสำคัญ ดังนั้นหลังจากการศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของแต่ละแหล่ง (ประชากร) และพบว่าความผัน แปรทางพันธุกรรมภายในและระหว่างแหล่งของแต่ละชนิดพันธุ์ที่ศึกษาใดมีความผันแปรทางพันธุกรรมและ ความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง และมีอัตราการผสมข้ามสูง (สำหรับชนิดพันธุ์ที่เป็นแบบผสมข้าม: Outcross species) ก็ควรจะถูกคัดเลือกให้เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมของชนิดพันธุ์ที่ศึกษานั้นๆ เนื่องจากไม้ป่ามีอายุยืนยาวกว่าพืชล้มลุกหรือพืชเกษตรอายุสั้น ดังนั้นระดับของความหลากหลาย ทางพันธุกรรมและอัตราผสมข้ามที่สูงจะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสความอยู่รอด อายุที่ยืนยาว ความต้านต่อโรค และแมลงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของรุ่นต่อๆ ให้สูงขึ้นได้ (Changtragoon and Szmidt, 1997) อย่างไรก็ตามการใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมจากเครื่องหมายโมเลกุลมาประกอบข้อมูลศึกษา การปรับตัวและข้อมูลทางระบบนิเวศ ก็จะย่อมทำให้โครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ไม้ป่าแต่ละชนิดที่อยู่ในแต่ละ สังคมป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (Changtragoon, 2005) ประเภทของเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ Szmidt (1995) ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการทำงานทางด้านชีววิทยาของพืชนั้นขึ้นอยู่กับการทำงาน ร่วมกันระหว่าง 3 แหล่งพันธุกรรม (Genomes) กล่าวคือในนิวเคลียส (Nuclear) คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) และไมโตคอนเดรียล (Mitochondrial) ซึ่งทั้งแหล่งพันธุกรรมทั้งหมดนี้มียีนเป็น องค์ประกอบ ซึ่งมีความสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่รอดได้ ซึ่งทำให้เกิดการเจริญเติบโต สังเคราะห์แสง หายใจ และกระบวนการทางชีววิทยาอื่นๆ ดั้งนั้นการศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมและความหลากหลายทาง พันธุกรรม ควรที่จะคำนึงถึงทั้ง 3 องค์ประกอบของแหล่งพันธุกรรมของระบบพันธุกรรมของพืช นอกจากนี้แต่ละองค์ประกอบยังมีโครงสร้างดีเอ็นเอ (DNA) ยีน รหัสพันธุกรรมที่ไม่ใช่ยีนและมี ระบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้ความแตกต่างระหว่างแต่ละแหล่ง(ประชากร) แตกต่างกันระหว่างการศึกษาแหล่งพันธุกรรมในนิวเคลียสที่มีระบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านทางทั้ง พ่อและแม่กับในคลอโรพลาสต์และไมโตคอนเดรียลที่มีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมผ่านทางพ่อหรือ แม่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเครื่องหมายโมเลกุลและการกระจายตัวในแหล่งพันธุกรรม และแนวโน้ม ที่จะเกี่ยวข้องกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัว (Potential adaptive significance) จึงควรนำมาพิจารณา เลือกใช้ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม (Karp et al.,1996; Krutovskii and Neale, 2001; Szmidt and Wang, 2000; Szmidt, 1995) ได้แนะนำว่าก่อนที่จะใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการศึกษานั้น จะต้องมีคำถามที่ชัดเจนว่าต้องการข้อมูลอะไรควรจะเลือกใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิดใด ควรมีหลักการใน การสุ่มตัวอย่างและมีข้อมูลที่จะวิเคราะห์ที่เพียงพอในการตอบคำถามดังกล่าว ซึ่งเครื่องหมายโมเลกุลได้ถูก พัฒนาขึ้นมา เพื่อศึกษาหลากหลายทางพันธุกรรมทั้งในพืชและไม้ป่าในหลายสิบปีที่ผ่านมา เช่นเครื่องหมาย ไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene markers) เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA markers) หลายชนิด เช่น RFLP (Restriction Fragment Length Polymorphisms) RAPD (Randomly Amplified Polymorphic DNA) AFLP (Amplified Fragment Length Polymorphisms) SSR (Simple Sequence Repeat)นอกจากนี้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above