Page 44

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

24 ยังมี EST (Expressed Sequence Tag) และรหัสพันธุกรรม (DNA sequences) เป็นต้น ซึ่งรายละเอียด ของเครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรมดังกล่าว และการใช้ประโยชน์สามารถศึกษาได้จาก Amaral (2001), Harry et al., (1998), FAO (2001), Karp et al. (1997), Kristensen et al. (2001), Krutovskii and Neale (2001), Ratnam (2001), Szmidt (1995) Szmidt and Wang (2000) และ Wang and Szmidt (2001), ส่วนวิธีการศึกษาในเครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด ไมโครแซทเทลไลท์ (Microsatellites) ได้สอดแทรกอยู่ในการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมของ ไม้ป่าและพืชป่าในบทต่อๆ ไป การใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมไม้ป่า ในการศึกษาวิจัยโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการสำรวจทรัพยากรพันธุกรรมที่ตำแหน่ง จำเพาะของยีน สามารถที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและการกระจายของความผันแปรทางพันธุกรรมทั้ง ภายในและระหว่างประชากร นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเครื่องหมายของยีนสามารถที่จะทำให้ทราบถึงค่า การประเมินอัตราการผสมข้าม ซึ่งสามารถที่จะสำรวจการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมที่เกิดจากปัจจัยต่างๆที่มี ผลต่อระบบการสืบพันธุ์ที่ศึกษาได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องหมายโมเลกุล จึงมีคุณค่าต่อการวินิจฉัย แหล่ง(ประชากร) ของชนิดพันธุ์ที่ศึกษา ซึ่งเหมาะสมต่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์เพื่อใช้ประโยชน์ ได้ (Changtragoon and Szmidt, 1997) ดังนั้นจะพบว่า เครื่องหมายโมเลกุล (Molecular markers) มี ประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ป่าไม้หลายด้าน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นการสืบหาประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ระหว่างกลุ่ม ของชนิดพันธุ์ (Hedrick, 2001) การใช้เครื่องหมายโมเลกุลทางพันธุกรรมทำให้การศึกษาวิจัยระบบการ สืบพันธุ์ได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะศึกษาการเคลื่อนย้ายของยีนและการกระจายของเมล็ดพันธุ์ ผลจากการศึกษา ดังกล่าวทำให้มีประโยชน์ต่อการใช้ข้อมูลในการดำเนินการโดยการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์ เช่น ทำให้ ทราบว่าควรจะสุ่มตัวอย่างเท่าไหร่ที่เป็นตัวแทนของแหล่ง (ประชากร) การวางแผนสวนผลิตเมล็ดพันธ์ุและ การจัดการที่เหมาะสมการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ไม้ป่า เพื่อการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม (Haines, 1994) นอกจากนี้การใช้เครื่องหมายโมเลกุลอาจจะสามารถนำมาใช้วัดค่าที่ต้องการที่เหมาะสมต่อ การจัดทำการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดและนอกถิ่นกำเนิดของไม้ป่าที่มีประสิทธิภาพได้ เช่น การมีลักษณะเฉพาะ (Identity) ความเหมือนกัน (Similarity) โครงสร้างทางพันธุกรรมและข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของแต่ละ ต้น สายพันธุ์ แหล่ง (ประชากร) และชนิดพันธุ์ (Karp et al., 1996) ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสามารถ นำมาดำเนินการโดยสรุปดังนี้ 1. เพื่อจำแนก วินิจฉัยชนิดพันธุ์และความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของชนิดพันธุ์และการสืบหาความ เป็นมาของการวิวัฒนาการของกลุ่มของชนิดพันธุ์ที่ศึกษา 2. เพื่อวินิจฉัย Clones และ Ramets ใน Gene bank เพื่อป้องกันและตรวจสอบการเขียนชื่อ Clones ผิด การซ้ำซ้อนและกำจัดการปนเปื้อนของพันธุกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 3. เพื่อประเมินขนาดและการกระจายตัวของความผันแปรทางพันธุกรรมและความหลากหลาย ทางพันธุกรรมภายในและระหว่างแหล่ง (ประชากร)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above