Page 55

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

35 การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ในไม้พะยูง (Developing microsatellite markers in Dalbergia cochinchinensis Pierre.) บทนำ ไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis Pierre.) เป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ไทย มีการใช้ประโยชน์ของไม้พะยูงอย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปของการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ที่มีสีสันและ ลวดลายสวยงามจนถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดโลก ทำให้ไม้พะยูงในประเทศไทย กำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์และมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางพันธุกรรม ใน ปัจจุบันมีการลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และป่าสงวน มากขึ้น (น้าชาติ, 2551) ซึ่ง IUCN (2006) ได้จัดไม้พะยูงอยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) ดังนั้นการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้พะยูง จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วน อย่างไรก็ตามในการอนุรักษ์ พันธุกรรมของไม้พะยูงอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องทราบสภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ พะยูงซึ่งสามารถดำเนินการโดยการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้ไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์แต่ เนื่องจากยังไม่มีผู้ใดพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ชนิดนี้มาก่อนจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนามาร์กเกอร์ชนิด นี้ขึ้นมา (สุจิตรา และคณะ, 2552) ทั้งนี้ไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ หรือที่เรียกว่า simple sequence repeat (SSR) เป็นเครื่องหมาย ทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งซึ่งเป็นดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสซ้ำเรียงตัวกันประมาณ 1-6 นิวคลีโอไทด์ โดยมีการซ้ำ ติดต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นช่วงยาวตั้งแต่ 2 ซ้ำขึ้นไป มีกระจายอยู่ทั่วไปในจีโนม (Litt and Luty, 1989; Handcock, 1999) ปัจจุบันไมโครแซทเทลไลท์เป็นดีเอ็นเอมาร์กเกอร์ ที่นิยมในในการประเมินความหลากหลายทาง พันธุกรรม เพราะให้ความแตกต่างทางพันธุกรรมสูงและแสดงให้เห็นสภาพข่มร่วมกัน จึงมีประโยชน์ใน การศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรม ระบบการสืบพันธุ์ การเคลื่อนย้ายและการถ่ายเทของยีนระหว่าง ประชากร ในการศึกษาในครั้งนี้ สุจิตรา และคณะ (2552) ได้พัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ที่เหมาะสม สำหรับไม้พะยูง เพื่อสามารถนำไปใช้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในระดับประชากร เพื่อใช้เป็น ข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาระบบการสืบพันธุ์และลายพิมพ์ดีเอ็นเอในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของไม้พะยูงเพื่อใช้ ประโยชน์ในการวินิจฉัยต้นพันธุ์และแหล่งที่มาเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูงและเพิ่มประสิทธิภาพใน การอนุรักษ์ไม้พะยูงในอนาคต วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ครั้งนี้ใช้ตามวิธีการของ Fischer and Bachmann (1998) โดยสุจิตรา และคณะ (2552) ได้นำใบอ่อนของไม้พะยูง มาสกัดดีเอ็นเอโดยใช้ชุดสกัดสำเร็จรูป DNeasy® Plant Mini Kit (Qiagen, Hilden) จากนั้นนำดีเอ็นเอที่ได้จากการสกัดข้างต้นมาตัดด้วยเอ็นไซม์ตัดจำเพาะ RsaI ซึ่ง มีต ำ แ ห น่ง จ ด จ ำ คือ GT/AC แ ล ะ ต่อ ด้ว ย adapter ซึ่งมีลำดับเบสดังนี้ adapter I, 5’CTCTTGCTTACGCGTGGACTA3’ และ adapter II, 5’TAGTCCACGCGTAAGCAAGAGCACA3’ จากนั้นทำความ สะอาดชิ้นดีเอ็นเอที่ได้ด้วยชุด MinEluteTM Gel Extraction kit (QIAGEN, Hilden) ตรวจสอบชิ้นดีเอ็นเอที่ได้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above