2 อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพื้นที่ป่าชายเลนได้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการ ใช้ประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ มาโดยตลอดท้าให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงมาก เนื่องจากสาเหตุส้าคัญ หลายประการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า การบุกรุกเพื่อท้านากุ้ง การท้านาเกลือ การขยายตัว ของเขตเมือง การท่องเที่ยวและการอุตสาหกรรม จนปัจจุบันมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียง ประมาณ 1.5 ล้านไร่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีพื้นที่ป่าชายเลน ตั้งอยู่บริเวณปากคลอง บางตราน้อยและปากคลองบางตราใหญ่ เดิมบริเวณนี้มีสภาพป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด แต่ได้มีการ บุกรุกท้าลาย ป่ามีสภาพเสื่อมโทรมลงจนเกือบหมดสภาพป่าธรรมชาติ ในวันที่.14.เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชด้าริ กับนายสุเมธ ตันติเวชกุล ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน มีใจความโดยสรุป “ให้จัดการพื้นที่ ที่เหมาะสม เพื่อทดลองปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน เพื่อนิเวศวิทยาป่าชายเลนกลับคืน สู่ธรรมชาติ” หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 17.เดือนสิงหาคม พ.ศ..2537.ได้เสด็จพระราชด้าเนิน ทรงปลูกต้นโกงกาง ที่บริเวณปากคลองบางตราน้อยและคลองบางตราใหญ่ และได้พระราชทาน พระราชด้าริเพิ่มเติมให้ด้าเนินการศึกษาหาวิธีที่จะดูแลรักษา ให้ต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้นี้ให้อยู่รอด และด้าเนินการปลูกเพิ่มเติมต่อไป ปัจจุบันสภาพผืนป่าชายเลนในเขตพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศมากขึ้น ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลากหลายชนิด เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้้าวัยอ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนกนานาชนิด ทั้งนกประจ้าถิ่นและนก.ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษาความหลายหลายทางชีวภาพของป่าชายเลน ในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และใช้เป็นข้อมูลประกอบในการศึกษาและ จัดการป่าชายเลนในอนาคต จึงได้ท้าการศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลนในพื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนาชาติสิรินธร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ให้ประสบผลส้าเร็จทั้งในด้านการฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์อย่างสม่้าเสมอและต่อเนื่องตลอดไป 1.2 วัตถุประสงค์งำนวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลนบริเวณปากคลองบางตราใหญ่ 1.2.2 เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในศึกษาและการบริหารจัดการป่าชายเลนต่อไป
ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above