บทท่ ี 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึ กษาโครงสร้ างสังคมพื ชป่ าชายเลน .บริ เวณพื้ นที่ คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ต าบลชะอ า อ าเภอชะอ า จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 2.1 ความหมายของป่าชายเลน สนิท.อักษรแก้ว.(2542.:.2.-.3).รายงานไว้ว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก ที่ได้ศึกษาและให้ความสนใจป่าชายเลนหลายท่านได้ให้ความหมายของป่าชายเลน.ไว้ดังนี้ Schimper.A.F.W..(1903.:.156)..นักภูมิศาสตร์ทางพืชที่มีชื่อเสียงของโลกได้ให้ความหมาย ป่าชายเลน หรือ Mangrove forest ไว้ว่าเป็นสังคมพืชที่อยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ า หรอื อ่าว ซึ่งเป็นบริเวณที่มรี ะดับน้ าทะเลท่วมถึงในช่วงที่น า้ ทะเลขึ้นสูงสุด ได้ให้ชื่ออีกอย่างหนึ่ง ว่า “Tidal forest” Du L.V. (1962 : 123) ได้ให้ความหมายของป่าชายเลน ไว้ 2 ประการ ประการแรก หมายถึง กลุ่มสังคมพืชที่ประกอบด้วยพรรณไม้หลายชนิด หลายวงศ์ และเป็นพวกที่มีใบเขียว ตลอดปี.(Evergreen.species).ซึ่งมีลักษณะทางสรีระวิทยาและต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน และประการที่.2.หมายถึง.กลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นปากอ่าว.ชายฝั่งทะเลบริเวณ.เขตร้อน (Tropical.region).ซึ่งประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง.(Rhizophora.spp.).เป็นไม้ส าคัญ และมีไม้ วงศ์อื่นปะปนอยู่บ้าง ความหมายนี้ตรงกับที่ William.Macnae นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก อีกคนหนึ่งได้ใหค้ วามหมายไว้ในรายงานการศกึ ษาวิจัยเกี่ยวกับป่าชายเลนเม่อื ปี ค.ศ. 1968 ค าว่า Mangrove มาจากภาษาโปรตุเกสว่า Mangue หมายถึง กลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ ตามชายฝั่งทะเลดินเลน.ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นและใช้กันแพร่หลายในแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่นๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตนเอง.ส าหรับประเทศไทยนิยมเรียกป่าชนิดนี้ว่า ป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง (วันชัย อิงปัญจลาภ. 2536 : 1)
ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above