39 4.2 องค์ประกอบของชนิดพรรณไม้ (Species composition) การศึกษาจ านวนชนิดพรรณไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ตั้งแต่ 4.0 เซนติเมตร ขึ้นไป กรณีไม้โกงกางให้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับ 20 เซนติเมตร เหนือคอราก พบว่า จ านวนชนิดพรรณไม้ในแปลงศึกษาแบบชั่วคราวแนวที่ 1 มีพรรณไม้ 5 ชนิด คือ แสมทะเล ถั่วขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ และโพธิ์ทะเล แนวที่ 2 มีพรรณไม้ 6 ชนิด คือ แสมทะเล ถั่วขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ฝาดดอกขาว และโพธิ์ทะเล แนวที่ 3 มีพรรณไม้ 7 ชนิด คือ แสมทะเล ถั่วขาว โปรงแดง ตาตุ่มทะเล.โกงกางใบเล็ก.โกงกางใบใหญ่ และโพธิ์ทะเล จากข้อมูลข้างต้นมีการพบพรรณไม้ในแปลงส ารวจทั้ง 3 แนว จ านวน 8 ชนิด มีพรรณไม้ 5 ชนิด ที่สามารถพบได้ทุกแปลงส ารวจ ได้แก่ แสมทะเล ถั่วขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ และโพธิ์ทะเล แสดงว่า พรรณไม้ทั้ง 5 ชนิดนี้ มีการกระจายพันธุ์ทั่วพื้นที่ ส่วนพรรณไม้อีก 3 ชนิด.ได้แก่ ตาตุ่มทะเล ฝาดดอกขาว และโปรงแดง จะมีการกระจายพันธุ์ เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น (ดังตารางที่ 4.2) ตารางที่ 4.2 พันธุ์ไม้ที่พบบริเวณป่าชายเลนบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ บริเวณที่พบ (แนวที่) 1 2 3 แสมทะเล Avicennia marina Verbenaceae X X X ถั่วขาว Bruguiera cylindrica Rhizophoraceae X X X โปรงแดง Ceriops tagal Rhizophoraceae 0 0 X โกงกางใบเล็ก Rhizophora apiculata Rhizophoraceae X X X โกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Rhizophoraceae X X X โพธิ์ทะเล Thespesia populnea (L.) Meliaceae X X X ฝาดดอกขาว Lumnitzera racemosa Willd. Combretaceae 0 X 0 ตาตุ่มทะเล Excoecaria agallocha Euphorbiaceae 0 0 X หมายเหตุ : X = พบพันธุ์พืชชนิดนั้นในแปลงส ารวจ, O = ไม่พบพันธุ์พืชชนิดนั้นในแปลงส ารวจ 4.3 ความโตของพรรณไม้ (Growth of trees) การศึกษาในครั้งนี้ได้ศึกษาขนาดความโตของพรรณไม้.2.ด้าน คือ ความโตด้าน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ .โดยวัดความโตที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก
ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above