Page 105

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

93 บรรยากาศที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ ผลการวิจัยหลายเรื่องได้อธิบายถึงผลของการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศที่มีต่อดิน น้ำ พืชพรรณ และความหลากหลาย ความมั่นคงทางด้านน้ำ พลังงาน และอาหาร รวมถึง ลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคมส ำหรับบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษานี้ ประเด็นการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศเป็น อีกประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งจากการคาดการณ์ว่า ปริมาณฝนที่จะตกน้อยลง และอุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรต่าง ๆ ในลุ่มน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นอีกปัจจัยที่ควบคุมทั้ง โครงสร้าง และการทำหน้าที่ของระบบนิเวศลุ่มน้ำ 3) ลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร และลักษณะทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยสำคัญต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพต่าง ๆ ภายในระบบลุ่มน้ำ โดยเฉพาะลักษณะทางเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยเร่ง หรือกระตุ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ หรือรูปแบบการทำการเกษตร เพื่อผลผลิต และรายได้ที่มากขึ้น การขยาย การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับภาคการท่องเที่ยว และบริการ เป็นต้น ดังนั้น ถือ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และหน้าที่ภายในระบบนิเวศลุ่มน้ำ 6.3 จากข้อมูลที่ศึกษา ได้ความสัมพันธ์ของสภาพภูมิอากาศ ปริมาณฝน ปริมาณน้ำท่าและความ ต้องการน้ำ ดังนี้ การเชื่อมโยงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้ เพิ่มเติมในความสัมพันธ์ของสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน พื้นที่ป่า ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน การ ขยายตัวของชุมชนและชายฝั่งทะเลแล้ว ในหัวข้อที่ 6.2 โดยสามารถสรุปได้ว่า ในบริเวณลุ่มน้ำบางตราน้อย และห้วยทราย ได้มีการบุกรุกแผ้วถางพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยมานาน มีป่าธรรมชาติและป่า ปลูกรวมกัน เท่ากับ 25.17 % และ 34.03 % ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อยและลุ่มน้ำห้วยทรายตามลำดับ มี เรือนยอดไม้ปกคลุมเฉลี่ยประมาณ 40-50 % ของพื้นที่ป่า ดินในพื้นที่ป่ามีอัตราการซึมน้ำได้รวดเร็ว ทำให้ ความชื้นในดินน้อย ป่าธรรมชาติจึงเป็นป่าไม้เบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ที่ผลัดใบในฤดูแล้ง ประกอบกับความ แห้งแล้งจากการทำลายป่าในพื้นที่มาเป็นเวลานานทำให้เป็นที่อับฝน ปริมาณน้ำฝนส่วนใหญ่ต่ำกว่าปีละ 1,000 มม. โดยต่ำสุดในปี2556 เท่ากับ 545.3 มม. และสูงสุดในปี2550 เท่ากับ 1239.2 มม. (วัดที่สถานีหัว หิน) และความแห้งแล้งเนื่องจากปริมาณน้ำฝนต่ำตั้งแต่ปี2551 ต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำให้ปริมาณน้ำในลุ่ม น้ำบางตราน้อยเฉลี่ยในปี2528 ถึง 2558 เพียง 9.69 ล้าน ลบ. ม. ต่อปี และ 16.35 % ของปริมาณน้ำ (ปริมาณ น้ำฝนเฉลี่ย 940.10 มม.) และลุ่มน้ำห้วยทราย 2.64 ล้าน ลบ. ม. (14.32 % ของปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ย 940.10 มม.) ปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อการอุปโภคแต่เพียงอย่างเดียว 1288 ลบ. ม. ต่อคนต่อปี ในลุ่มน้ำบางตรา น้อย 1,432 ครัวเรือน ประชากร 8,592 คน ลุ่มน้ำห้วยทราย 770 ครัวเรือน ประชากร 4,620 คน จึงต้องการ น้ำอุปโภค 11.07 และ 5.95 ล้าน ลบม. ต่อปี ตามลำดับ จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ การเกษตรและสนามกอล์ฟ ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำอีกปริมาณมาก แม้ว่าจะมีอ่างพวงที่เชื่อมโยงกับ 7 อ่างก็ ยังไม่เพียงพอที่จะแบ่งปันน้ำได้อย่างทั่วถึง และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรของทั้งสองลุ่มน้ำ ในปี2563, 2573 และ 2583 เพิ่มขึ้นเป็น 11,498, 20,591 และ 36,876 คนตามลำดับ ของลุ่มน้ำบางตราน้อย ซึ่งจะใช้ น้ำอุปโภคเพิ่มขึ้น 14.81, 26.52 และ 47.50 ล้าน ลบ. ม. ตามลำดับ และลุ่มน้ำห้วยทรายประชากร 6,183, 11,072, 19,828 คนตามลำดับ ต้องการน้ำอุปโภค 7.96, 14.26 และ 25.54 ล้าน ลบ. ม. ตามลำดับ ซึ่งต้อง เตรียมการน้ำอุปโภคไม่น้อยกว่า 4.3 เท่าตัวของปี2558 และผลจากแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและ ปริมาณน้ำฝน ปี พ.ศ. 2549-2573 ปรากฏว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียง 611.78 มม./ปี อุณหภูมิสูงขึ้น 0.82 oc


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above