Page 106

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

94 ซึ่งหมายถึง ปริมาณน้ำท่าลดน้อยลง ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยปี2528 ถึง 2558 338 มม. (36%) ปัญหาขาด แคลนน้ำย่อมรุนแรงมากขึ้น 6.4 แนวทางการจัดการแบบบูรณาการ ผลจากการวิจัย พบว่า พื้นที่แห้งแล้งมีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ใน บางปีมีน้ำฝนเพียง 545.3 มม./ปี(ปี2556) และมีแนวโน้มจะน้อยอย่างต่อเนื่อง ไม่เกิน 800 มม./ปี(ตาม แบบจำลอง ถึงปี2583) สภาพป่ามีเรือนยอดปกคลุมเพียง 40-50% และผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ดินเป็นดิน ทราย และบางพื้นที่ยึดตัวแข็งเป็นดินดาน การเก็บกักน้ำได้น้อย ทำให้อัตราการระเหยของน้ำสูงถึง 1,713 มม./ปี อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ปริมาณมาก โดยอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดขนาดความจุ4 ล้าน ลบ. ม. มีปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ในอ่างเดือน มกราคม 2558 เพียง 1.07 ล้าน ลบ. ม. (27%) บ่อพักน้ำเขากระปุกมีความจุ 0.312 ล้าน ลบ. ม. มีน้ำ0.17 ล้าน ลบ. ม. (54.48%) และอ่างเก็บน้ำห้วยทรายมีความจุ1.95 ล้าน ลบ. ม. มี น้ำเพียง 0.23 ล้าน ลบ. ม. (12%) นอกจากมีการแย่งน้ำไปใช้ประโยชน์แล้ว น้ำยังซึมลงสู่ใต้ดินมาก ทำให้น้ำ ในอ่างเก็บน้ำแห้งในฤดูแล้ง การขยายตัวของชุมชนเป็นไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการน้ำยิ่งเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันปริมาณน้ำที่ได้จากน้ำฝนมีแต่ลดน้อยถอยลง การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่แบบบูรณาการบน พื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจากการประชุมระดมความคิดเห็นเมื่อ 21 เมษายน 2559 ประชาชน ต้องการให้ตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ การ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนโครงการในการแก้ไขปัญหา บังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งลดการตัดไม้ทำลายป่า ทำ ฝายชะลอน้ำ สร้างทางระบายน้ำ ควบคุมการก่อสร้างไม่ให้ขวางลำน้ำ การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการ ควรดำเนินการดังนี้ 1. จำแนกแหล่งการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ให้ชัดเจน ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับสภาพลุ่มน้ำ 2. พื้นที่ป่าไม้ซึ่งอยู่ในบริเวณภูเขา และพื้นที่ต้นน้ำ ควรฟื้นฟู ปลูกเสริมให้หนาแน่นและปกคลุม หลายชั้น โดยเลือกชนิดที่มีใบเขียวตลอดปี เพื่อรักษาความชื้นของดิน มีการปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อ ปรับปรุงดินและช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น ไม้ที่ปลูกควรเป็นพืชทนแล้ง และดำเนินการป้องกันไฟป่า อย่างมีประสิทธิภาพ 3. พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำให้สามารถเก็บน้ำได้ระยะยาว โดยมีวัสดุป้องกันการรั่วซึมและป้องกัน การระเหยของน้ำ และสร้างแหล่งเก็บน้ำให้มากที่สุดทั้งในคูคลองและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสม 4. น้ำที่ใช้แล้ว ควรมีแหล่งเก็บกักน้ำ และหมุนเวียนไปใช้ประโยชน์ในด้านการป่าไม้เกษตรกรรม หรืออุปโภคต่างๆ 5. ส่งเสริมการเกษตรกรรม ใช้ระบบน้ำหยด และป้องกันการระเหยของน้ำเพื่อรักษาความชุ่ม ชื้นของดิน 6. ส่งเสริมการจัดทำบ่อ/ถัง เก็บกักไขมัน เพื่อลดปริมาณน้ำเสียในแหล่งน้ำต่างๆ 7. มีบ่อบำบัดน้ำเสียรวม กระจายหลายพื้นที่ เพื่อลดมลภาวะในน้ำและนำน้ำกลับมาใช้อีก การสำรวจทรัพยากรลุ่มน้ำในบริเวณพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ภายใต้โครงการวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ำ รวมทั้งสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจุบันในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ซึ่งจากการสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อพิจารณาสภาพ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above