Page 107

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

95 ของแต่ละทรัพยากร ความเกี่ยวเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคม และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบถึง สภาพ และความต่อเนื่องของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้เสนอแนะแนวทางทั้งในด้านการบริหารจัดการ การ ปฏิบัติงานของหน่วยงาน รวมทั้งแนวทางเพื่อการวิจัยที่จะอธิบายสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งแนวทางการบูรณาการเพื่อการจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำซึ่งผนวกจากการประชุมระดมความคิดเห็นของ ผู้เกี่ยวข้อง มีแนวทางซึ่งสรุปได้ ดังนี้ 6.4.1 การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ สภาพปัญหาของทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ศึกษา ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งมี สาเหตุจากการบุกรุกพื้นที่ป่า การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม และปัญหาจากไฟป่า ดังนั้น จึงมี ข้อเสนอแนะสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ดังนี้ 1) การวางแผนการใช้ที่ดิน และกำหนดมาตรการการใช้ที่ดิน สภาพป่าในพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่งทางตอน เหนือของพื้นที่เป็นแนวเขาช่องม่วง เขาหุบสบู่ เขาหุบเจดีย์ เขาพระรอกหนอกวัว และภูเขาเล็ก ๆ โดยเป็นเขต พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติชะอำ-บ้านโรง ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ส่วนด้านทิศใต้ติดกับเขาสามพระยา ซึ่ง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนหมายเลข 87 มีพื้นที่อยู่ในขอบเขตของลุ่มน้ำห้วยทราย มีสภาพเป็นป่าผสมผลัดใบ (ป่า เบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ส่วนบริเวณตอนกลางของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับเนินเขา เป็นที่ตั้ง ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีสภาพเป็นป่าผสมผลัดใบ ป่ารุ่นสอง และ พื้นที่ปลูกฟื้นฟูป่า นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่ชุมชน มีโครงข่ายถนน และสาธารณูปโภคต่าง ๆ และด้านตะวันออกของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในความดูแลของ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และค่ายนเรศวร โดยมี สภาพเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายหาด ชายหาด และมีสิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านพักกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ ซึ่ง จากสภาพของพื้นที่ทั้งสองลุ่มน้ำ พบว่า พื้นที่ป่าที่เหลืออยู่พบตามบริเวณที่เป็นพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีสภาพดิน ค่อนข้างตื้น บางพื้นที่เป็นหิน จึงไม่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สภาพส่วนใหญ่จึงยังมีป่า หลงเหลืออยู่ เนื่องจากเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร การวางแผนการใช้ที่ดิน และการกำหนดมาตรการการใช้ที่ดินจึงเป็น แนวทางปฏิบัติที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ด้วยเหตุผลของการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณอำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมี กิจกรรมการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น การกำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์โดยเฉพาะพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ใช้ประโยชน์รูปแบบต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจน ทั้งนี้ พื้นที่บริเวณนี้ซึ่งสภาพ ภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ภูเขาเป็นบริเวณที่ยังมีพื้นที่ป่าหลงเหลืออยู่ จึงควรกำหนดพื้นที่เหล่านี้ให้เป็นพื้นที่เพื่อ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั้งในรูปแบบของป่าสงวนแห่งชาติ หรือลักษณะของป่าชุมชนที่ราษฎรช่วยกันดูแล รักษา โดยเป็นบริเวณที่ต้องเก็บรักษาสภาพป่าที่เหลืออยู่ รวมทั้งป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาสภาพของพื้นที่ป่าไว้ รวมทั้งต้องมีมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นควบคู่ไปด้วย ส่วนพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร ก็ ควรมีการใช้มาตรการอนุรักษ์ดิน และน้ำที่เหมาะสม รวมทั้งอาจมีการใช้มาตรการพืชคลุมดินหลาย ๆ ระดับ ทั้งไม้ใหญ่ยืนต้น ไม้พุ่ม พืชไร่ หรือประยุกต์ใช้ระบบวนเกษตร และเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above