96 ทั้งนี้ การวางแผนการใช้ที่ดิน และการกำหนดมาตรการการใช้ที่ดิน เป็นงาน สำคัญ และเร่งด่วนที่ควรดำเนินการก่อนกิจกรรมอื่น ๆ โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และประชาชนใน พื้นที่ต้องสร้างความเข้าใจ และมีข้อตกลงร่วมกันในการพิจารณากำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม รวมทั้งต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ได้รับทราบด้วย 2) การฟื้นฟูป่า ถึงแม้ว่าปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาจะถูกจำกัดด้วย สภาพภูมิประเทศ และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ แต่จากสภาพความแห้งแล้ง ปัญหาดินที่เป็นทรายจัด และ การเกิดไฟป่า ทำให้พื้นที่ป่าไม้มีสภาพที่เสื่อมโทรมลง รวมทั้งปัญหาการบุกรุกที่เกิดขึ้นมาในอดีต และมีการ ฟื้นฟูป่าในช่วงต่อมาซึ่งป่าก็ยังมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์มาก สำหรับการฟื้นฟูสภาพป่าที่มีการดำเนินการในพื้นที่ นอกจากการปลูกต้นไม้เสริมในพื้นที่ป่าทั้งป่าบก และปลูกพลิกฟื้น (Afforestation) ผืนป่าชายเลน และป่า ชายหาดแล้ว ยังมีลักษณะของการฟื้นฟูสภาพป่าตามธรรมชาติ(Natural succession) และการปลูกต้นไม้ใน ลักษณะของไม้ชนิดเดียว และปลูกผสมกันหลายชนิด โดยเป็นการปลูกชนิดไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส กระถิน ยักษ์ กระถินณรงค์ เป็นต้น รวมทั้งต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ที่ปลูก เช่น สีเสียด ขะเจ๊าะ อะราง เขลง ยางนา สน ประดิพัทธ์ เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ฟื้นฟูป่าส่วนใหญ่พบบริเวณตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย (บริเวณศูนย์ ศึกษาฯ ห้วยทราย) และบริเวณเขาสามพระยา พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทราย สำหรับแนวทางในการฟื้นฟูป่าโดยการปลูกต้นไม้ในบริเวณพื้นที่ศึกษา ซึ่งมี ปัจจัยจำกัดทั้งจากสภาพอากาศที่ร้อน และแห้งแล้ง สภาวะการขาดแคลนน้ำที่ยาวนาน สภาพดินที่เป็นดินตื้น และเนื้อดินเป็นทรายจัด ซึ่งทำให้การฟื้นฟูป่าเป็นไปได้ยาก ซึ่งแนวทางในการพิจารณาเลือกชนิดพรรณพืชที่ ทนทานต่อความแห้งแล้ง และเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมของพื้นที่ อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถพิจารณา ดำเนินการได้รวมทั้งต้องพิจารณาเทคโนโลยีในการปลูกโดยใช้พัฒนาระบบน้ำโดยการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ร่วมด้วย สำหรับชนิดไม้ในกลุ่มมะเกลือ (วงศ์Ebenaceae) ตะแบก เสลา อินทรชิต (วงศ์Lythraceae) ข่อย โมกมัน ไม้วงศ์ Leguminosae หลายชนิด รวมทั้งมะเดื่อ และไทร (วงศ์ Moraceae) สามารถพิจารณานำมาเป็นชนิดที่ปลูกฟื้นฟูป่าได้ นอกจากนั้น หากมีปริมาณน้ำเพียงพอ หรือมี มากขึ้น สามารถทำการพัฒนาป่าไม้ด้วยระบบป่าเปียก (Wet fire break) ควบคู่ไปด้วยได้ โดยการทำฝายใน พื้นที่ป่า หรือสร้างบ่อน้ำขนาดเล็กเพื่อช่วยในการเก็บกักน้ำ และปล่อยให้น้ำไหลหล่อเลี้ยงในพื้นที่ป่าเพื่อเพิ่ม ความชุ่มชื้นของดิน สำหรับการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยการปลูกพลิกฟื้นผืนป่าขึ้นมาใหม่ (Afforestation) หลังจากถูกตะกอนดินทรายทับถมมาเป็นเวลานาน และปลูกเสริมฟื้นฟูสภาพป่าที่มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ปัจจุบัน สภาพป่าเริ่มฟื้นคืนสภาพ และต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น แต่บริเวณที่เป็นดินทรายจัดต้นไม้ ยังเจริญเติบโตได้ไม่ดี การปลูกฟื้นฟูป่าเป็นวิธีการที่ช่วยให้สภาพป่าฟื้นฟูสภาพได้ อย่างไรก็ตาม ต้องมีแนวทางในการฟื้นฟูให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งต้องดำเนินการร่วมกับหลาย ๆ หน่วยงาน รวมถึง ภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องด้วย 3) การป้องกัน และอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ในบริเวณลุ่มน้ำศึกษาบางส่วนเป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งตามกฎหมายป่าไม้จะต้องเป็นพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ของชาติ แต่เนื่องจากการกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่ อาจจะไม่ชัดเจน มีการขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้จากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเชิงการบริหารจัดการ อื่น ๆ จึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่งผลให้สภาพป่ามีความเสื่อมโทรมลง ดังนั้น กิจกรรมการ ป้องกัน การดูแลรักษา และการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ จึงควรมีการดำเนินการ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above