97 การมีหน่วยป้องกันรักษาป่า มีการตรวจตราพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ป่า เป็นต้น และการให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน 4) การติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม และภาพถ่ายทางอากาศ รวมทั้งการติดตาม การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าไม้จากพื้นที่แปลงถาวร ทำให้ทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดินในภาพรวมของทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ส่วนการติดตามการเปลี่ยนแปลงในแปลงถาวร ทำให้ทราบ ถึงลักษณะทางนิเวศวิทยาของสังคมพืชที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการเจริญเติบโต รวมทั้งการตรวจวัดข้อมูลด้าน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถดำเนินการได้ในแปลงสำรวจ เช่น คุณสมบัติของดิน คุณสมบัติทางอุทกวิทยาของ ดิน การศึกษามวลชีวภาพของสังคมพืช เป็นต้น 5) ความร่วมมือในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ การดำเนินการในการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นหน้าที่ รับผิดชอบหลักของกรมป่าไม้ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยจัดการต้นน้ำ ภายใต้กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานของกรมชลประทาน หน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน หน่วยงานในส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นต้น มีความสำคัญที่จะช่วยในเรื่องการ กำหนดขอบเขต และมาตรการการใช้ที่ดินในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งความร่วมมือกับภาคประชาชนผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จะทำให้การจัดการ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมยิ่งขึ้น 6.4.2 การบริหารจัดการน้ำ และแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำ และแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา เป็นความ รับผิดชอบของกรมชลประทาน เนื่องจากในพื้นที่บริเวณนี้มีการจัดการระบบน้ำที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (ระบบอ่างพวง) โดยการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ จากพื้นที่ตอนบนไปเติมในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ตอนล่าง ซึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ สภาพที่อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เก็บกักน้ำได้น้อย จึงทำให้ปริมาณน้ำที่จะผันไปสู่อ่าง เก็บน้ำต่าง ๆ มีปริมาณที่ลดลงไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาปริมาณน้ำที่ลดน้อยลง และไม่เพียงพอในการรองรับ กิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ การบริหารจัดการน้ำ และแหล่งน้ำจึงต้องพิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมกับ สภาพธรรมชาติ และความต้องการในการใช้ประโยชน์ ในช่วงที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากสามารถที่จะระบายน้ำ ไปเก็บกักยังอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ได้ แต่หากปริมาณน้ำน้อยลง อาจมีการงดการปล่อยน้ำ หรือควบคุมการระบาย น้ำอย่างเหมาะสมเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเหล่านั้นมีน้ำสำหรับใช้ประโยชน์ได้ด้วย แต่หาก จำเป็นต้องมีการการปล่อยน้ำโดยเฉพาะจากพื้นที่เขื่อนขนาดใหญ่ที่ปล่อยน้ำส่วนหนึ่งเข้ามาในพื้นที่ซึ่งต้องมี การปล่อยน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ และผลักดันน้ำเค็ม มีการนำน้ำที่ใช้แล้ว หมุนเวียนไปใช้ประโยชน์ในด้าน การป่าไม้ เกษตรกรรม และอุปโภคต่างๆ ส่งเสริมการเกษตรกรรมใช้น้ำน้อย น้ำหยด ป้องกันการระเหยของน้ำ รวมทั้งจัดทำบ่อ/ถัง เก็บกักไขมัน ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการบริหาร จัดการน้ำด้วย ดังนั้น นอกจากเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐโดยตรงแล้ว การมีส่วนร่วมกับประชาชนใน ท้องถิ่นจะช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6.4.3 งานวิจัย 1) การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลในภาพรวม ของทั้งพื้นที่ในระดับจังหวัด หรือระดับภาค ดังนั้น หากบริเวณพื้นที่ศึกษามีสถานีตรวจอากาศที่สามารถ ตรวจวัดลักษณะอากาศ ได้แก่ ปริมาณฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็ว และทิศทางลม และการระเหยน้ำ
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above