Page 110

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

98 จะทำให้ข้อมูลต่าง ๆ มีความละเอียดมากขึ้น ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้ เสนอให้มี สถานีตรวจอากาศในพื้นที่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งเสนอแนะให้ ติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร รวมทั้งปรับปรุงสถานีตรวจอากาศที่อยู่ ในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2) การติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ จากการวิจัยซึ่งได้วางแปลงศึกษา ทรัพยากรป่าไม้แบบถาวรทั้งในพื้นที่ป่าบก และป่าชายเลนในบริเวณลุ่มน้ำศึกษา จำนวนรวมทั้งหมด 15 แปลง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ และอธิบายผลข้อมูลด้านนิเวศวิทยาของป่าไม้ เช่น อัตราการเจริญเติบโตของแต่ละ ชนิดป่า การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น และหาความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ อย่าง ต่อเนื่องได้ จะทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ภายใต้สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้ รวมทั้งพิจารณา ปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าไม้ เช่น สมบัติของดิน กระบวนการทางอุทกวิทยาต่าง ๆ เป็นต้น 3) การติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ และคุณภาพน้ำ มีสถานีในการตรวจวัดปริมาณ น้ำ และตะกอนในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพิ่มเติมจากการตรวจวัดระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งมีการติดตาม ตรวจวัดคุณภาพน้ำจากทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำใช้อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกช่วง ฤดูกาลในรอบปี 4) การศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ศึกษา และ พื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และผลต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมิติทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นผลกระทบ และความต่อเนื่องถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การปรับตัว ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ กระบวนการมีส่วนร่วม และความร่วมมือ และข้อเสนอแนะในการจัดการ 6) การบูรณาการงานวิจัยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเด็น เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลกระทบทางอุทกวิทยา และคุณภาพ น้ำผิวดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าไม้ และสัตว์ป่า การวิจัยด้าน ทัศนคติ การปรับตัว การมีส่วนร่วมในการจัดการ และความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น 6.4.4 การนำข้อเสนอแนะไปสู่การปฏิบัติ 1) การวางแผนการใช้ที่ดิน และการกำหนดมาตรการการใช้ที่ดิน โดยวัตถุประสงค์ หลักของกิจกรรมนี้ต้องการจำแนกขอบเขตพื้นที่เพื่อกำหนดวิธีการจัดการอย่างเหมาะสม โดยจำแนกให้ชัดเจน ว่าบริเวณใดที่เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ และบริเวณใดที่เป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของ หน่วยงานภาครัฐที่ต้องชี้แจง ทำความเข้าใจ และแสดงขอบเขตพื้นที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจนต่อประชาชนผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย และทำความตกลงร่วมกัน จากนั้นจึงกำหนดแนวทางในการพัฒนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 2) แนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาบนพื้นฐาน ของวิธีปฏิบัติด้านการอนุรักษ์จะช่วยให้ทรัพยากรต่าง ๆ สามารถคงสภาพความยั่งยืนได้ รวมทั้งทำให้การ พัฒนาต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างเหมาะสม เช่น การป้องกันรักษาพื้นที่ป่าที่ยังหลงเหลืออยู่ การกำหนดขอบเขต การใช้ประโยชน์ที่ดิน การฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น การประยุกต์วิธีการอนุรักษ์ตามทฤษฎีการพัฒนาต่าง ๆ เป็นต้น


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above