Page 111

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

99 3) กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ภายใต้ความตกลงในเรื่องของการวางแผนการใช้ ที่ดินที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นข้อกำหนดร่วมกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเกิดขึ้น โดยจะต้องบังคับใช้กฎหมายต่างๆ อย่าง เข้มงวด 4) การกำหนดนโยบายในการพัฒนา และการบริหารงานของหน่วยงานในท้องถิ่น โดยการเสนอรูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ไปสู่ท้องถิ่นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ และ ความสอดคล้องกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชนในท้องถิ่น หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงเป็นผู้มีบทบาท สำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 5) ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงาน ในส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ และกำหนดนโยบาย และแนวทางในการพัฒนา ผู้ใช้ประโยชน์ และ ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันในการจัดการตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบาย มี การบูรณาการการจัดการทั้งในเชิงพื้นที่ เชิงกิจกรรม เชิงทรัพยากร และเชิงเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน 6) การประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย ทั้งประเด็นด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาที่ไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มเป้าหมายมีทั้ง คนที่อยู่ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในท้องถิ่น รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานในระดับประเทศ และ ต่างประเทศ 7) การนำผลการวิจัยต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลเสริมในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาให้ เหมาะสม รวมทั้งการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน 7. สรุป และข้อเสนอแนะ 7.1 สรุปผลการศึกษา โครงการวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง กำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ศึกษา ได้แก่ ลุ่มน้ำบางตราน้อย พื้นที่ 64.10 ตารางกิโลเมตร และลุ่มน้ำห้วยทราย พื้นที่ 19.51 ตาราง กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่ต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา เปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2552 และ 2558 พบว่า ทั้งสองพื้นที่ลุ่มน้ำมีสัดส่วนการใช้ที่ดินที่เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม (พืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์) มากกว่าการใช้ที่ดินรูปแบบอื่น ๆ แต่ก็มีสัดส่วนใกล้เคียงกับพื้นที่ป่า ไม้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง พบว่า พื้นที่เกษตรกรรม และป่าไม้ มีแนวโน้มลดลง ส่วนพื้นที่ชุมชน และเมือง มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 7.1.1 การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ ผลการสำรวจด้านทรัพยากรป่าไม้ มีสภาพสังคมพืชประกอบด้วยป่าผสมผลัดใบ (ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ) ป่าฟื้นฟูป่ารุ่นสอง ป่าปลูก ป่าชายหาด และป่าชายเลน ทำการวางแปลง สำรวจแบบถาวร (Permanent plot) จำนวนรวม 15 แปลง และวางแปลงสำรวจแบบแปลงชั่วคราว (Temporary plot) เพื่อสำรวจแจงนับทรัพยากรป่าไม้รวมทั้งหมด 235 แปลง


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above