Page 112

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

100 สำหรับสภาพของป่าผสมผลัดใบ เป็นลักษณะของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังที่ ขึ้นปนกัน โดยบริเวณที่เป็นหุบเขา ร่องเขา ที่ดินค่อนข้างลึก มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนบริเวณที่สูงขึ้นไป ซึ่งดินตื้น เป็นดินลูกรัง หรือก้อนหิน มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ทุกพื้นที่สำรวจดินตื้นมาก บางพื้นที่เป็นลูกรัง และ เป็นสภาพของก้อนหินโผล่ นอกจากนั้น ในทุกพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการถูกไฟไหม้ ทำให้ต้นไม้ขนาดเล็ก ลูกไม้ และกล้าไม้ต่าง ๆ เหลืออยู่ไม่มาก หรือบางพื้นที่ไม่มีไม้ขนาดเล็กเหลืออยู่ สำหรับการสำรวจลักษณะทาง นิเวศวิทยาป่าไม้ โดยวางแปลงสำรวจชั่วคราวรวมทั้งหมด 170 แปลงสำรวจ และวางแปลงถาวรรวม 7 แปลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของสังคมพืช พบว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่มากแต่มี หลายขนาดขึ้นปะปนกัน บริเวณที่เป็นป่าเบญจพรรณพบไผ่ขึ้นปะปนในพื้นที่อย่างหนาแน่น ส่วนบริเวณที่เป็น ป่าเต็งรังเป็นไม้ขนาดเล็ก ลูกไม้ และกล้าไม้ขนาดเล็ก วัชพืช และไม้พื้นล่างอื่น ๆ เรือนยอดปกคลุมของป่า ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างด้านตั้งของสังคมพืชแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด ชั้นอินทรียวัตถุที่ปกคลุม ผิวหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อพิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรไม้ สำรวจพบไม้ใหญ่ยืน ต้น (Trees) 123 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 59 ต้นต่อไร่ ส่วนลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม (Saplings / Polings) สำรวจพบ 116 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1,802 ต้นต่อไร่ และกล้าไม้(Seedlings) สำรวจพบ 92 ชนิด มี ความหนาแน่นเฉลี่ย 5,091 ต้นต่อไร่ รวมทั้งสำรวจพบไม้ไผ่1 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 305 ลำต่อไร่ ส่วน การวิเคราะห์ปริมาตรไม้ พบว่า มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 6.1749 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่โตมาก ส่วนไม้ขนาดเล็กก็มีจำนวนไม่มาก และการคำนวณดัชนีความ หลากหลายในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า มีค่า Fisher‘s index of diversity () เท่ากับ 22.28 พื้นที่ป่าฟื้นฟู ป่ารุ่นสอง สวนป่า เป็นการฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกบุกรุกจากกิจกรรม การใช้พื้นที่ทำการเกษตร และการพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยการปลูกฟื้นฟูป่ามีทั้งการปลูกต้นไม้ชนิดเดียว หรือปลูกผสมหลายชนิด แต่เนื่องจากสภาพดินซึ่งมีสภาพเป็นดินทรายจัด ทำให้การเจริญเติบโตของตันไม้ไม่ดี นัก อย่างไรก็ตาม สภาพในปัจจุบันพบว่า มีต้นไม้ดั้งเดิมได้เจริญเติบโตขึ้นมาในพื้นที่ด้วย นอกจากนั้น ในพื้นที่ ของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรก็ได้มีการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่โดยการปลูกต้นไม้หลายชนิด ปนกัน แต่ก็มีการเจริญเติบโตที่ไม่ดีจากสภาพของดินที่เป็นทรายจัด และปัญหาความแห้งแล้ง สำหรับการวาง แปลงสำรวจลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ทำการวางแปลงสำรวจชั่วคราวรวมทั้งหมด 35 แปลงสำรวจ และ วางแปลงถาวรรวม 4 แปลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของทั้งสังคมพืช พบว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่มาก และมีหลายขนาดไม่ต่างกันมาก ต้นไม้ขึ้นตามแนวที่ปลูกซึ่งมีระยะปลูกแตกต่างกัน ไป และมีไม้ดั้งเดิมขึ้นปะปนอยู่ในแปลงปลูกด้วย เรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้าง ด้านตั้งของสังคมพืชแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด ชั้นอินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อ พิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรไม้ สำรวจพบไม้ใหญ่ยืนต้น 70 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 47 ต้นต่อไร่ ส่วนลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม สำรวจพบ 77 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1,398 ต้นต่อไร่ และกล้าไม้ สำรวจพบ 41 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 4,400 ต้นต่อไร่ รวมทั้งสำรวจพบไม้ไผ่ 1 ชนิด มีความหนาแน่น เฉลี่ย 163 ลำต่อไร่ ส่วนการวิเคราะห์ปริมาตรไม้ พบว่า มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 5.9535 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่โดย จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่โตมาก ส่วนไม้ขนาดเล็กก็มีจำนวนไม่มาก และบางพื้นที่เริ่มมีการฟื้นคืนสภาพของไม้ป่าดั้งเดิม และการคำนวณดัชนีความหลากหลายในบริเวณพื้นที่ ศึกษา พบว่า มีค่า Fisher‘s index of diversity () เท่ากับ 18.88 ป่าชายหาด ภายในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพของสังคมพืช ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีสภาพเป็นดินทรายจัด และไม่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเล เป็นกลุ่มของต้นไม้ที่มีขนาดไม้ ใหญ่มาก พบได้ตั้งแต่บริเวณที่ติดกับชายทะเล และห่างออกมา บางบริเวณมีการปลูกต้นไม้หลายชนิดเพื่อ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above