Page 16

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

4 ทำหน้าที่ในการยึดเกาะดินเพื่อไม่ให้สูญเสียไป และมีกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นตัวเร่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในระบบลุ่มน้ำนั้นเปลี่ยนแปลงสภาพไป ดังนั้น ในการจัดการลุ่มน้ำจึงให้ความสำคัญกับการกำหนดเขต หรือการวางแผนการใช้ที่ดิน การควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากร และการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ในลุ่มน้ำที่จะสร้างผลต่อเนื่อง และเชื่อมโยงไปทั้งระบบลุ่มน้ำตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และท้ายน้ำ ทั้งนี้ การ จัดการลุ่มน้ำจึงให้ความสำคัญการระบบนิเวศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อระบบนิเวศต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเกิด การเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพธรรมชาติ ซึ่งอาจเกิดจากสภาวะความกดดันต่าง ๆ อย่างเช่นปัจจุบันที่มีการให้ ความสำคัญกับกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุม (Land use and land cover change; LULCC) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Global climate change) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศลุ่มน้ำทั้งนั้น 3.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน และผลกระทบ ต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำเป็นระบบเปิดที่มีทั้งสิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทรัพยากรทางสังคมอยู่ด้วยกัน ทำให้เกิด การทำงานที่หลากหลายรูปแบบภายในระบบนิเวศลุ่มน้ำ ในสภาพธรรมชาติลุ่มน้ำแต่ละแหล่งแต่ละพื้นที่มี สภาพที่แตกต่างกัน และแต่ละลุ่มน้ำต่างก็พยายามรักษาสภาพความสมดุลภายในระบบเอาไว้ แต่การ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากการมีปัจจัย เร่ง ได้ส่งผลให้ระบบลุ่มน้ำมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพธรรมชาติ เป็นสภาพของลุ่มน้ำที่มีการพัฒนา หรืออยู่ในสภาพที่ถูกทำลายลงไป ซึ่งการศึกษาวิจัยในด้านต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศลุ่มน้ำ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน เป็นปัจจัยที่สำคัญ และส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้าง และการทำหน้าที่ของระบบลุ่มน้ำ การลดลงของพื้นที่ป่าจากการบุกรุกพื้นที่เพื่อใช้ ประโยชน์ทางการเกษตร หรือกิจกรรมอื่น ๆ การขยาย หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำการเกษตร กิจกรรม การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม และการบริการ ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงทรัพยากรอื่น ๆ โดยเฉพาะป่าไม้ ดิน และน้ำ โดยปัจจุบัน พื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์ของประเทศมีพื้นที่เหลืออยู่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และนอกจากนั้น คุณภาพของพื้นที่ป่าเองก็ยิ่งมีความเสื่อมโทรมลง ส่วนการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกคนให้ความสำคัญซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งจากการใช้ พื้นที่ และทรัพยากรต่าง ๆ อย่างไม่เหมาะสม พื้นที่ที่รักษาสภาพความสมดุลของระบบนิเวศลดน้อย และเสื่อม โทรมลง มีการปลดปล่อยของเสีย และก๊าซต่าง ๆ ออกไปสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้อากาศ ของโลกร้อนขึ้น และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะส่งผลต่อไปถึงลักษณะอากาศในระบบท้องถิ่นด้วยเช่นกัน โดย จากการศึกษา พบว่า มีแนวโน้มที่ปริมาณฝนจะน้อยลง อุณหภูมิอากาศจะสูงขึ้น รวมทั้งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากสภาวะเหล่านี้ก็จะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่นักจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมต้องช่วยกันกำหนดแนวทางเพื่อลด หรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสำคัญต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากทั้ง ทางตรง และทางอ้อม โดยสภาพภูมิอากาศมีความผันแปรตลอดตั้งแต่ในอดีต และเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตร ต่อไปในอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุของปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่ง มักจะเกี่ยวข้องกับความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้น สภาพการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่ง ปกคลุมดินในปัจจุบัน ก็เป็นทั้งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นผลต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศได้เช่นกัน


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above