5 สำหรับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน มีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศเพราะ เป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และอากาศที่มีอิทธิพลต่อกัน และกัน การเปลี่ยนแปลงการ ใช้ประโยชน์ที่ดินตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมการใช้ที่ดินของราษฎรในพื้นที่นั้น ๆ ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับภูมิภาค เช่น การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินมีผล โดยตรงต่อการปลดปล่อยน้ำ การแลกเปลี่ยนแก๊ส การหมุนเวียนของธาตุอาหาร ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามชนิด พืชที่แตกต่างกันไป เป็นต้น ผลการวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แสดงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบนิเวศลุ่มน้ำในบริบทของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน และการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยเกษม และคณะ (2524) ทำการศึกษาผลของการทำลายป่าต่อลักษณะอากาศ บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดิน (การทำลายป่าไม้) มีผลต่อลักษณะอากาศ โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.5 องศาเซลเซียส ซึ่ง มีอุณหภูมิสูงสุดสูงกว่าปกติประมาณ 0.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดต่ำกว่าปกติประมาณ 0.1 องศา เซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนปริมาณน้ำฝน การระเหยน้ำ ความเร็วลม และ รังสีความร้อนไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกษม (2534) ให้ข้อมูลว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดย การทำลายป่าจะมีผลต่อสภาวะอากาศ และลดความเร็วลม วิชา (2535) นำเสนอข้อมูลว่า การทำลายป่าไม้ ก่อให้เกิดสภาวะอากาศเลวลง และทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล โดยการทำลายป่าไม้บนที่สูงจะก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นลูกโซ่อย่างมากมาย สมเกียรติ(2538) รายงานผลการศึกษาว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพ ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตร และพื้นที่เมืองทำให้ปริมาณน้ำฝนรายปีมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น จาก การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ หรือเมื่อมีกิจกรรมการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็น พื้นที่ใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ ยังส่งผลให้มีการสูญเสียดินเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียดินมาก ขึ้นตามไปด้วย (Tingting et al., 2008) ซึ่งประเด็นเหล่านี้ต่างแสดงถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้าง การทำหน้าที่ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศลุ่มน้ำ 3.3 การจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการ การจัดการลุ่มน้ำเป็นการจัดการทรัพยากรภายในลุ่มน้ำให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือ เป็นการจัดการที่พิจารณาทรัพยากรแต่ละส่วน และภาพรวมของทั้งระบบ ซึ่งการจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการ นั้น มีทั้งการบูรณาการในเชิงพื้นที่ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และท้ายน้ำ การบูรณาการด้านเวลา งบประมาณ สถานที่ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้รอบด้าน รวมทั้งต้องทำความเข้าใจใน รายละเอียดของแต่ละโครงสร้าง หน้าที่ วิธีการในการจัดการ รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในอดีต การจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำเป็นการจัดการแบบแยกส่วนโดยพิจารณาเฉพาะ ทรัพยากรแต่ละด้าน เช่น การจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ เป็นต้น ทำให้การจัดการไม่เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด ซึ่งเห็นได้จากสภาพของปัญหาต่าง ๆ ที่มีความรุนแรงมากขึ้น แนวคิดในด้านการจัดการลุ่มน้ำแบบ บูรณาการจึงได้มีการปรับ และพัฒนาใช้ ทั้งนี้ ในรายละเอียดของการจัดการต้องทำความเข้าใจลักษณะทาง นิเวศวิทยาของลุ่มน้ำ วิธีปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรลุ่มน้ำ และวิธีการบูรณาการ สำหรับในปัจจุบัน แม้ว่าการจัดการแบบบูรณาการที่เน้นเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในการจัดการลุ่มน้ำยังเป็น ประเด็นที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองก็ ตามที่ยังไม่ประสานกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above