Page 18

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

6 3.4 ภาพรวมสภาพสังคมพืชในบริเวณพื้นที่ศึกษา กรมป่าไม้ ทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการแปลภาพถ่ายดาวเทียม SPOT-5 (พ.ศ.2550) ซึ่งจำแนกสภาพป่าได้5 ชนิด (คณะวนศาสตร์, 2551) และมีรายละเอียดของแต่ละ สังคมป่าไม้ดังนี้ 3.4.1 ป่าชายเลน สังคมพืชในป่าชายเลนปรับเปลี่ยนเป็นกลุ่มสังคมพืชอื่นๆ ที่ขึ้นได้ดีในพื้นที่ มีความเป็นดินทรายจัด โครงสร้างของป่าชายเลนสามารถจำแนกได้2 ชั้นเรือนยอดคือ 1) เรือนยอดชั้นบน (Crown layer) มีความสูงประมาณ 5-10 เมตร พรรณไม้เด่นคือ โกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่ และ 2) เรือนยอดชั้นรอง มีความสูงประมาณ 5 เมตร พบโพทะเล และฝาดขาว เป็นไม้เด่นในเรือนยอดชั้นนี้ 3.4.2 ป่าผสมผลัดใบ สภาพสังคมพืชแบ่งเป็น 3 ชั้นเรือนยอดอย่างชัดเจน โดยเรือนยอดชั้นบน มี ความสูงประมาณ 20-25 เมตร เรือนยอดชั้นรองความสูงระหว่าง 10-15 เมตร และเรือนยอดชั้นล่าง มีความสูงระหว่าง 5-10 เมตร ส่วนพรรณไม้เด่นในพื้นที่ประกอบด้วย อ้อยช้าง ตะแบกเลือด มะค่าแต้ อีแปะ ประดู่ แดง รัง ตะแบก งิ้ว มะเกลือ เป็นต้น 3.4.3 ป่าชายหาด บริเวณพื้นที่อุทยานฯ พบว่า มีพรรณไม้เพียง 5 ชนิด โดยสนทะเลเป็นพรรณไม้ เด่นที่สำคัญมากกระจายปกคลุมทั่วทั้งพื้นที่ชายหาด รองลงมาได้แก่ สะเดา และสนประดิพัทธ์ 3.4.4 ป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานฯ พบป่าชนิดนี้ได้ตั้งแต่ระดับพื้นราบ ในบริเวณที่ดินเป็นทรายจัด ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50 เมตร จนกระทั่งถึงบริเวณสันเขา และยอดเขาที่สูงที่สุดของพื้นที่ ความ สูงประมาณ 230 เมตร จากระดับน้ำทะเล เรือนยอดของป่าแบ่งเป็น 3 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบน ความสูงระหว่าง 15-20 เมตร เรือนยอดชั้นรอง ความสูงระหว่าง 10-15 เมตร และเรือนยอดชั้นล่าง ความสูง น้อยกว่า 5 เมตร พรรณไม้ที่พบ เช่น รัง อ้อยช้าง ตะแบกเลือด แดง ช้างน้าว กาสามปีก ประดู่ เป็นต้น โดยมี สภาพคล้ายกับป่าผสมผลัดใบ 3.4.5 ป่าทดแทน หรือป่ารุ่นที่สอง เกิดขึ้นจากการส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ป่าหลากหลายชนิด ขึ้นในบริเวณที่รกร้างว่างเปล่าของพื้นที่อุทยานฯ พันธุ์ไม้เด่นในพื้นที่ป่าทดแทน คือ นนทรี ข่อย สะเดา ขี้เหล็ก มะขามเทศ มะพลับ กระถินณรงค์ ประดู่บ้าน และขันทองพยาบาท 3.5 ระบบนิเวศป่าไม้และลักษณะทางนิเวศวิทยา จากเอกสารการศึกษาด้านโครงสร้างป่า และองค์ประกอบของพรรณพืชที่ทำการศึกษาใน พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมสิรินธร และพื้นที่ใกล้เคียง ที่ดำเนินการโดยคณะวนศาสตร์ ในช่วงปีพ.ศ.2550-51 (คณะวนศาสตร์, 2551) โดยสำรวจในพื้นที่อุทยานฯ สิรินธร และพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อัน เนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีข้อมูล ดังนี้ 3.5.1 พื้นที่ป่า บริเวณอุทยานฯ สิรินธร ประกอบด้วยพื้นที่ป่าชายเลน 189.68 ไร่ ป่าชายหาด 136.61 ไร่ และป่าฟื้นฟู/ป่ารุ่นสอง 362.73 ไร่ ส่วนบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ประกอบด้วย พื้นที่ป่าเต็งรัง 4,016.57 ไร่ และป่าเบญจพรรณ 2,530.88 ไร่ 3.5.2 โครงสร้างป่า และความหลากหลายของพืชพรรณ 1) ป่าชายเลน (Mangrove forest) สภาพของป่าชายเลนบริเวณอุทยานฯ สิรินธร (สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม) เดิมมีสภาพที่เสื่อมโทรม ซึ่งเกิดจากตะกอนทรายที่ถูกพัดพาจากพื้นที่ต้นน้ำลง มาทับถมในบริเวณที่เป็นป่าชายเลน จากสภาพของพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ได้ถูกบุกรุกพื้นที่ป่าจากกิจกรรม การเกษตร และการป่าไม้ พื้นที่ป่าชายเลนมีสภาพเป็นดินทรายที่ถูกทับถมจนป่าได้เปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มของ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above