Page 82

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

70 ตารางที่ 13 รายละเอียดของจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ และเก็บตัวอย่างน้ำ โครงการวิจัย และพัฒนาการบริหาร จัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง รหัส จุดเก็บตัวอย่าง รายละเอียด /สภาพ พิกัด ประเภท 1 0utletลุ่มน้ำบางตราน้อย ป่าชายเลน 604096N 1403342E น้ำผิวดิน 2 บ่อรับน้ำในอุทยานฯ สิรินธร บ่อน้ำ603740N 1403702E น้ำผิวดิน 3 อ่างเก็บน้ำห้วยทราย อ่างเก็บน้ำ598736N 1404041E น้ำผิวดิน 4 บ่อพักน้ำเขากระปุก อ่างเก็บน้ำ597929N 1404817E น้ำผิวดิน 5 อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด อ่างเก็บน้ำ596722N 1405991E น้ำผิวดิน 6 อ่างเก็บน้ำทุ่งขาม อ่างเก็บน้ำ582964N 1397631E น้ำผิวดิน 7 อ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย อ่างเก็บน้ำ582035N 1394763E น้ำผิวดิน 8 อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม อ่างเก็บน้ำ575874N 1312720E น้ำผิวดิน 9 อ่างเก็บน้ำห้วยทราย (หุบกะพง) อ่างเก็บน้ำ598046N 1410950E น้ำผิวดิน และเป็นลักษณะที่แสดงถึงความเค็มของน้ำ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพน้ำผิวดิน พบว่า ค่าความ สกปรกในรูปบีโอดี(Biochemical oxygen demand; BOD) มีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ผิวดิน ประเภทที่ 3 โดยมีค่า 3.10 mg./l เมื่อพิจารณาข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน (สิงหาคม 2558) พบว่า ค่าความเค็ม ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และความกระด้างทั้งหมด ยังมีค่าสูงกว่าจุด เก็บตัวอย่างอื่น ๆ รวมทั้งค่าความสกปรกในรูปบีโอดี ก็มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิว ดิน ประเภทที่ 3 โดยมีค่า 8.6 mg./l รวมทั้งมีค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (Dissolved oxygen; DO) ต่ำ โดยมีค่า 2.13 mg./l 2) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณบ่อน้ำภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ซึ่งรับน้ำ มาจากคลองบางตราน้อย เป็นน้ำใช้ภายในอุทยานฯ และไหลผ่านบ่อน้ำต่าง ๆ ภายในพื้นที่อุทยานฯ ออกสู่ ทะเล พิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 603740N และ 1403702E สภาพพื้นที่เป็นบ่อน้ำ บริเวณรอบบ่อมีธูปฤาษีขึ้นอยู่ เป็นบ่อน้ำใช้ภายในพื้นที่อุทยานฯ และหน่วยงานที่อยู่ภายใน ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความ สกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยมีค่า 8.70 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐาน คุณภาพน้ำ โดยมีค่าสูงถึง 22.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์ม แบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น รวมทั้งค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ ซึ่งมีค่าเป็นด่างเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ(Dissolved oxygen; DO) มีค่าสูง โดยมีค่า 14.19 mg./l 3) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย (ลุ่มน้ำห้วยทราย) ซึ่งรับน้ำโดยการผันน้ำ จากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดบริเวณปลายคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวามาที่บ่อพักน้ำเขากระปุกผ่านระบบท่อผัน น้ำพิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 598736N และ 1404041E สภาพบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมีทั้งสภาพที่เป็นป่าธรรมชาติ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ป่าปลูกฟื้นฟู(ยูคาลิตัส กระถินยักษ์ และแปลงปลูกผสม) และพื้นที่ทดลองของ ศูนย์ฯ ห้วยทราย ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่า มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความสกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกินค่า


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above