Page 93

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

81 พบพืชดอก 19 วงศ์35 สกุล 38 ชนิด ในพื้นที่ป่าปลูกของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งเปรียบเทียบกับ การสำรวจในครั้งนี้ ซึ่งพบชนิดไม้รวม 134 ชนิด 60 วงศ์ ซึ่งชนิดไม้ไม่แตกต่างจากการสำรวจครั้งที่แล้ว นอกจากนั้น ในการสำรวจครั้งนี้ ได้วิเคราะห์ค่าความหนาแน่น และปริมาตรไม้เฉลี่ย ของแต่ละสังคมพืชในพื้นที่สำรวจด้วยวิธีการสำรวจแจงนับทรัพยากรป่าไม้(Forest inventory) รวมทั้งได้ทำ การวางแปลงตัวอย่างถาวรจำนวน 15 แปลง เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของแต่ละสังคมพืช โดยผลการ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ยืนต้นของป่าบกระหว่าง 41-59 ต้นต่อไร่ ส่วนป่าชายเลน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 765 ต้นต่อไร่ ส่วนปริมาตรไม้เฉลี่ยของป่าบกระหว่าง 5.95-6.31 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ส่วนของป่าชายเลนมีปริมาตรไม้เฉลี่ย 12. 77 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ส่วนสภาพปัญหาของทรัพยากรป่าไม้ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษามีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบ การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่จึงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ชุมชน ส่วนพื้นที่ป่าพบใน บริเวณที่เป็นพื้นที่เนิน และพื้นที่ภูเขา โดยมีสภาพเป็นป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ สำหรับสภาพปัญหาของ ทรัพยากรป่าไม้ นอกจากการบุกรุกพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าของ หน่วยงานราชการแล้ว ไฟป่าเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งพบว่า หลายพื้นที่ได้เกิดไฟ ไหม้อย่างรุนแรง ทำให้ไม้ขนาดเล็กถูกไฟไหม้จนหมด นอกจากนั้น จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน มีปริมาณ ฝนตกน้อย เป็นสาเหตุที่ทำให้ปัญหาไฟป่ามีความรุนแรงมาก และทำให้การเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่า ค่อนข้างช้าด้วย อย่างไรก็ตาม ได้มีมาตรการฟื้นฟูสภาพป่าโดยการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูป่าในบริเวณพื้นที่เสื่อม โทรม หรือเสื่อมสภาพในหลายพื้นที่ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณพื้นที่วิจัย พบว่า ระบบนิเวศป่าไม้พบใน บริเวณพื้นที่ภูเขาซึ่งมีสภาพเป็นหิน และดินตื้น ต้นไม้จึงมีขนาดไม่ใหญ่มาก รวมทั้งจากสภาพของอากาศที่ร้อน มีฝนตกน้อย และปัญหาที่เกิดขึ้นจากไฟป่า และมีกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่า ทำให้ระบบนิเวศของ ป่าธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ส่วนบริเวณพื้นที่ป่าปลูก / ป่ารุ่นสอง และป่าชายหาด สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่โตมาก ซึ่งมีสาเหตุจากสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด ทำให้การเจริญเติบโตของต้นไม้เป็นไปได้ช้า ส่วนพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งมีการปลูก และฟื้นคืนสภาพป่า ต้นไม้มีการเจริญเติบโตได้ดี แต่ในบริเวณที่เป็นดิน ทรายจัด ต้นไม้ยังเจริญเติบโตได้ช้า ทั้งนี้ เพื่อการเป็นป้องกันรักษา และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ วิจัย จึงควรมีแนวทางในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยรักษา และสร้าง ความสมดุลของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน 6.1.2 ทรัพยากรสัตว์ป่า การสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่วิจัย และพื้นที่ใกล้เคียง สำรวจสัตว์ป่าใน 4 กลุ่ม ประกอบด้วยนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน ผลการสำรวจ ในช่วงเดือนเมษายน และสิงหาคม 2558 พบสัตว์ป่ารวมทั้งหมด 96 ชนิด 59 วงศ์ 25 อันดับ โดยประกอบด้วย นก 65 ชนิด 37 วงศ์ 15 อันดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 10 ชนิด 9 วงศ์ 6 อันดับ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 6 ชนิด 4 วงศ์ 1 อันดับ และสัตว์เลื้อยคลาน 15 ชนิด 9 วงศ์ 3 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจที่ ดำเนินการโดยคณะวนศาสตร์ ช่วงปีพ.ศ.2550-2551 โดยสำรวจในพื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งพบสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม 11 ชนิด 7 วงศ์4 อันดับ นก (ช่วงฤดูหนาว) รวม 103 ชนิด 34 วงศ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 11 ชนิด 4 วงศ์1 อันดับ และสัตว์เลื้อยคลาน 16 ชนิด 8 วงศ์2 อันดับ ซึ่งพบว่า ในช่วงการสำรวจครั้งนี้ ชนิดของสัตว์ป่า มีจำนวนลดลง แต่ส่วนใหญ่ชนิดของสัตว์ป่าก็ไม่แตกต่างจากเดิม โดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าขนาดเล็ก สามารถ พบเห็นได้ทั่วไปในทุกระบบนิเวศเนื่องจากมีความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above