Page 24

ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

10 กับอุณหภูมิในประเทศออสเตรเลีย พบว่า ไม้แสมทะเลมีการแตกใบอ่อนในช่วงอุณหภูมิ ระหว่าง 18.-.20 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิ สูงมากกว่า 20.1 องศาเซลเซียส การแตกใบอ่อน ของไม้โกงกางจะลดลง 2.4.2.4.ลม.เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตกและการกระจายของฝน ซึ่งมีผล ต่อลักษณะโครงสร้างของป่าชายเลน บริเวณที่มีลมแรงจะท าให้ไม้แคระแกร็นและรูปทรง ผิดปกติ (สนิท อักษรแก้ว. 2542 : 37) 2.4.3 ป่าชายเลนขนึ้ ได้ดีตามประเภทภูมอิ ากาศ ดังนี้ 2.4.3.1 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical savanna climate).โดยมีฝนตกน้อย สภาพแห้งแล้งในฤดูหนาวและฤดูฝน 2.4.3.2 ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Tropical monsoon climate) ซึ่งมีฝนตกมาก ตลอดทั้งปีและมีฤดูแล้งสั้น 2.4.3.3 ภูมิอากาศแบบป่าชื้นเขตร้อน (Tropical rain forest climate) เป็นภูมิอากาศ ที่มคี วามชุ่มชืน้ มีฝนตกมากตลอดปี และมีปริมาณน้ าฝนมากกว่า 61 มิลลิเมตร ในทุกๆ เดือน 2.4.4.น้ าขึ้นน้ าลง.(Tide).น้ าขึ้นน้ าลงบริเวณชายฝั่งทะเลนับเป็นปัจจัยส าคัญ ในการก าหนดการแบ่งเขตการขึ้นอยู่ของพันธุ์ไม้หรือสัตว์น้ าในป่าชายเลน ช่วงเวลาน้ าขึ้นและน้ าลง จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มในบริเวณป่าชายเลน ขณะที่น้ าขึ้นค่าปริมาณ ความเค็มของน้ าจะสูงขึ้นด้วย และในทางตรงกันข้ามเมื่อน้ าลดค่าปริมาณความเค็มของน้ า จะต่ าลงด้วยการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ าเนื่องจากน้ าขึ้นน้ าลงแล้วยังเป็นตัวจ ากัด การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน (สนิท อักษรแก้ว. 2542 : 39.-.40) นอกจากนี้ระยะเวลาการขึ้นลงของน้ าทะเลก็จะส่งผลต่อลักษณะโครงสร้าง ของป่าชายเลน บริเวณที่มีน้ าขึ้นน้ าลงวันละครั้งหรือแบบน้ าเดี่ยว (Diurnal tide) จะมีโครงสร้างป่า ที่แตกต่างกับบริเวณที่มีน้ าขึ้นลงวันละ 2 ครั้งหรือน้ าคู่ (Semi.-.diurnal tide) และจะแตกต่าง จากการขึ้นลงของน้ าทะเลแบบผสม (Mixed tide) Watson J.G. (1928 : 93) ได้ศึกษาป่าชายเลน ในประเทศมาเลเซีย พบว่าระยะเวลาการขึ้นลงของน้ าทะเลที่แตกต่างกันจะท าให้การขึ้นและ การกระจายพันธุ์แตกต่างกัน โดยไม้โกงกางใบใหญ่จะขึ้นได้ในพื้นที่ที่น้ าท่วมถึงตลอดเวลา ไม้พังกาหวัสุมและไม้ตะบูนจะขนึ้ ได้ในบริเวณพืน้ ที่ที่น า้ ท่วมถึงเป็นครั้งคราวเท่านนั้ 2.4.5 คลื่นและกระแสน้ า.(Wave..and..current).คลื่นและกระแสน้ าจะมีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางโครงสร้างและกิจกรรมในระบบนิเวศป่าชายเลนทั้งทางตรง และทางอ้อม อิทธิพลทางตรงที่มีต่อป่าชายเลน ได้แก่ การช่วยในการแพร่กระจายของพันธุ์ไม้ ที่มีฝักโดยเฉพาะพันธุ์ไม้ในวงศ์ .Rhizophoraceae.ฝักจะแพร่กระจายไปสู่แหล่งต่างๆ ตามบริเวณชายฝั่งโดยการพัดพาของกระแสน้ า .ส่วนในทางอ้อมคลื่นและกระแสน้ า


ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above