Page 44

ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

30 วิจารณ์ มีผล (2540) ได้ศึกษาป่าชายเลนบริเวณปากคลองพะวง ริมทะเลสาบสงขลา ตอนนอก พบว่า มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ ลูกไม้ และกล้าไม้เท่ากับ 1,558 2,851 และ 1,213 ต้นต่อเฮกแตร์ ตามล าดับ มีปริมาตรไม้เฉลี่ยบริเวณปากคลอง 23.86 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ เนื่องจากพืน้ ที่ดังกล่าวอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม สุรชาติ เพชรแก้ว.(2540).ได้ศึกษาป่าชายเลนอ าเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบว่า มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ 3,447 ต้นต่อเฮกแตร์ ในพื้นที่มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่.ลูกไม้ และกล้าไม้ 78, 113 และ 4,300 ต้นต่อเฮกแตร์ ตามล าดับ ป่าชายเลนแห่งนี้มีไม้โกงกางใบเล็ก และไม้ตาตุ่มเป็นไม้เด่น และพบไม้ฝาดดอกขาวขึ้นร่วมกับต้นแสมขาวบริเวณฝั่งตะวันตก ที่ระยะ 0.-.100 เมตร จากล าคลองเพียงบริเวณเดียวเท่านั้น นิพิท.ศรีสุวรรณ.และคณะ.(2542).ได้ศึกษาโครงสร้างของไม้ฝาดดอกขาว (Lumnitzera.racemosa.Willd.).บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนใน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ (1 เฮกแตร์).พบว่า มีพันธุ์ไม้ 19 ชนิด ต้นฝาดดอกขาวเป็นพืชชนิดเด่น ความหนาแน่นเฉลี่ย ของต้นไม้ทั้งหมด 5,388.ต้นต่อเฮกแตร์ ปริมาตรไม้เฉลี่ย 127.6.ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ย 6.6 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ย 7.2 เมตร การสืบพันธุ์ ตามธรรมชาติของป่าชายเลน มีความสมบูรณ์ดี กล่าวคือ ความหนาแน่นเฉลี่ยของลูกไม้ และกล้าไม้ 4,370 และ 16,860.ต้นต่อเฮกแตร์ ตามล าดับ คุณสมบัติของดินในพื้นที่ศึกษา พบว่า เป็นดินเหนียวมีสัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนอยู่ในช่วง 11.-.24 ส่วน คุณสมบัติของน้ า ในพื้นที่ศึกษา พบว่า มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 5.7.-.8.2.ความเค็มอยู่ในช่วง 0.-.22.ส่วนในพัน ส่วน และในฤดูฝนมีน า้ ท่วมพื้นที่ทั้งหมดช่วงเดอื นตุลาคมถึงเดือนมีนาคม Aksornkoae.S.,.Iampa.P..and.Kooha.B..(1982.:.149.-.163).ได้ศึกษาป่าชายเลนระนอง ใกล้พื้นที่ท าเหมืองแร่ พบว่า ไม้ใหญ่มีความหนาแน่น 1,083 ต้นต่อเฮกแตร์ ปริมาตรไม้ 183 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ และป่าชายเลนธรรมชาติ ไม้ใหญ่มีความหนาแน่น 1,289 ต้นต่อเฮกแตร์ ปริมาตรไม้ 236 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ Aksornkoae.S..et.al..(1991.:.35.-.81) ได้ศึกษาป่าชายเลนระนอง บริเวณชะวากทะเล พบว่า มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ 1,115 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีปริมาตรไม้ 167.4 ลูกบาศก์เมตร ต่อเฮกแตร์ ป่าชายเลนเขตอนุรักษ์ด้านในคลองหงาว มีความหนาแน่นของต้นไม้ 2,255 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีปริมาตรไม้ 279.30 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์.และได้ศึกษาป่าชายเลน บริเวณคลองต าโหงง มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ 2,135 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีปริมาตรไม้ 45 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ ป่าสัมปทานบริเวณคลองหงาว มีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ 1,070 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีปริมาตรไม้ 67.50 ลูกบาศก์เมตร


ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above