Page 43

ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

29 ตัดบ ารุงป่ามีความหนาแน่นของไม้ใหญ่ 2,590 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีปริมาตรไม้ 48.45 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ ส่วนแปลงควบคุมที่มีสภาพตามธรรมชาติ มีความหนาแน่นของ ไม้ใหญ่ 3,030 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีปริมาตรไม้ 74.80 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ ธงชัย จารุพพัฒน์ และสุวิทย์ อ๋องสมหวัง (2538) ได้ศึกษาการจัดท าข้อมูลแผนที่ ป่าชายเลนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผลการศึกษา พบว่า การส ารวจข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลน ในประเทศไทยแต่ละช่วงระยะเวลา โดยใช้วิธีการแปลตีความทั้งภาพถ่ายทางอากาศและ ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่ป่าชายเลนที่เหลืออยู่ ปรากฏว่านับตั้งแต่ เริ่มด าเนินการเป็นครั้งแรกเม่อื ปี พ.ศ. 2504 จนกระทั่งถึงปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ป่าชายเลนในประเทศไทย ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2504 มีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่ 2,299,375 ไร่ ในปี พ.ศ. 2518 มีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่ 1,954,375 ไร่ ในปี พ.ศ. 2522 มีพื้นที่ป่าชายเลน เหลืออยู่ 1,795,625 ไร่ ในปี พ.ศ. 2529 มีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่ 1,227,500 ไร่ ปี พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่ 1,085,000 ไร่ และจากการส ารวจล่าสุดโดยใช้ภาพถ่าย จากดาวเทียม Landsat.-.5.(TM).ในปี พ.ศ..2536 พบว่า พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยลดลง เหลือเพียง 1,054,266 ไร่ เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลา 32 ปีที่ผ่านมานี้ (ปี พ.ศ. 2504.-.2536) พื้นที่ป่าชายเลนได้ถูกท าลายไปแล้วถึง 1,245,109 ไร่ โดยมีอัตราลดลง เฉลี่ยประมาณปีละ 38,909.66 ไร่ สนใจ หะวานนท์ และคณะ (2538) ได้ศึกษาลักษณะโครงสร้างป่าชายเลนในท้องที่ จังหวัดสมุทรสงครามโดยการวางแนวศึกษา.(Transect.line).ในป่าชายเลนบริเวณอ าเภอเมือง สมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ให้กระจายครอบคลุมพื้นที่และเป็นตัวแทนของป่าจ านวน 4.แนว.แต่ละแนวมีความกว้าง.10.เมตร.มีความยาวจากทะเลจนสิ้นสุดแนวป่าชายเลน ผลการศึกษา พบว่า ป่าชายเลนจังหวัดสมุทรสงครามเป็นป่าที่เกิดขึ้นบนที่ดินเลนงอกใหม่ ลักษณะหน้าตัดดิน (Soil Profile) มีเฉพาะชั้น A และ C ดินมีความเป็นเลนมาก ประกอบด้วย พรรณไม้ 2 ชนิด คือ แสมขาว (Avicennia.alba) และล าพู (Sonneratia.caseolaris) มีค่าดัชนี.- ความส าคัญ.(Importance.Value.Index).เท่ากับร้อยละ.230.38.และ.69.92.ตามล าดับ มีความหนาแน่นของต้นไม้เฉลี่ย 930 ต้นต่อเฮกแตร์ ปริมาตรไม้เฉลี่ย 102.59 ลูกบาศก์เมตร ต่อเฮกแตร์ การสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติของป่าค่อนข้างดี มีความหนาแน่นของลูกไม้และ ไม้หนุ่ม 6,714 ต้นต่อเฮกแตร์ และ 916 ต้นต่อเฮกแตร์ ตามล าดับ ไม้แสมขาว (Avicennia alba) สามารถสืบต่อพันธุ์ได้ดีที่สุด โสภณ หะวานนท์ และคณะ (2538) ได้ศึกษาป่าชายเลนที่หมดอายุการสัมปทาน ป่าไม้จังหวัดระนอง พบว่า มีความหนาแน่นของต้นไม้ 1,337.55 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีปริมาตรไม้ 36.93 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์


ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above