Page 61

ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

47 4.6 ดัชนีความส าคัญ (Importance Value Index, IVI) ค่าดัชนีความส าคัญเป็นค่าที่แสดงถึงความส าคัญทางนิเวศวิทยา ของพันธุ์พืช (Ecology.importance) ชนิดใดชนิดหนึ่งต่อความส าเร็จในการครอบครองพื้นที่นั้นๆ กล่าวคือ พันธุ์พืชชนิดใดที่มีค่าดัชนีความส าคัญสูงกว่าแสดงว่าพันธุ์พืชชนิดนั้นเป็นพันธุ์พืชเด่น และมีความส าคัญในพื้นที่นั้น ค่าดัชนีความส าคัญเป็นการรวมค่า ความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความถี่ สัมพัทธ์ และความเด่นสัมพัทธ์เข้าด้วยกัน ค่าดัชนีความส าคัญนี้สามารถผันกลับให้เป็นค่า เปอร์เซ็นต์ความส าคัญ.(Importance.percentage).โดยแบ่งเป็นค่าทั้งสามดังกล่าวข้างต้น ค่าดัชนีความส าคัญของชนิดพันธุ์พืชชนิดหนึ่งๆ จะมีค่าตั้งแต่.0.-.300.ดัชนีความส าคัญ ตามวิธีการของ.(Cottam.C..1949.:.114).จากผลการศึกษาในพื้นที่ป่าชายเลนบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร พบว่า ในแปลงศึกษาแบบชั่วคราวแนวที่ 1 พันธุ์ไม้ที่มี ความหนาแน่นสัมพัทธ์มากที่สุด คือ แสมทะเล มีค่าประมาณร้อยละ 71.6578 รองลงมา คือ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ถั่วขาว และโพธิ์ทะเล มีค่าประมาณร้อยละ.26.2032,.1.0695,.0.5348 และ.0.5348 ตามล าดับ พันธุ์ไม้ที่มีความเด่นสัมพัทธ์มากที่สุด คือ แสมทะเล มีค่าประมาณร้อยละ 77.0896 รองลงมา คือ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โพธิ์ทะเล และถั่วขาว มีค่าประมาณร้อยละ 21.0585,.0.8462,.0.5213.และ.0.4845 ตามล าดับ และพันธุ์ไม้ที่มีความถี่สัมพัทธ์มากที่สุด คือ แสมทะเล มีค่าประมาณร้อยละ 57.1429 รองลงมา คือ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โพธิ์ทะเล และถั่วขาว มีค่าประมาณร้อยละ 23.8095,.9.5238,.4.7619.และ.4.7619 ตามล าดับ เมื่อพิจารณาพรรณไม้เด่นในแนวที่.1.จากผลรวมของความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความเด่นสัมพัทธ์ และความถี่สัมพัทธ์ ในรูปค่าดัชนีความส าคัญของพันธุ์ไม้แล้ว พบว่า พันธุ์ไม้ ที่เป็นพันธุ์ไม้เด่นและมีค่าดัชนีความส าคัญสูงที่สุด คือ แสมทะเล มีค่าดัชนีความส าคัญ 205.8902 รองลงมา ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก และโพธิ์ทะเล มีค่าดัชนีความส าคัญ 71.0712, 11.4395 และ 5.8180 ตามล าดับ และชนิดพันธุ์ไม้ที่มีดัชนีความส าคัญน้อยที่สุด คือ ถั่วขาว โดยมีค่าดัชนีความส าคัญ เท่ากับ 5.7811 (ดังตารางที่ 4.8)


ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above