Page 151

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

4-17 (2) นก การศึกษาสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของนกทั้ง 2 พื้นที่คืออุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการสำรวจในช่วงปลายฤดูฝนต่อต้นฤดูหนาวตั้งแต่เดือน ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2550 และปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยใช้วิธีการสำรวจแตกต่างกัน ในแต่ละสภาพนิเวศ เนื่องจากในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์การศึกษาการพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริห้วยทราย มีสภาพนิเวศที่แตกต่างและหลากหลาย ดังนั้นวิธีการที่ใช้ใน การสำรวจนกจึงแตกต่างไปตามระบบนิเวศ โดยสามารถแบ่งระบบนิเวศหลักภายในพื้นที่สำรวจ ทั้ง 2 สถานที่ได้ดังนี้ • ระบบนิเวศป่าไม้ พบในบริเวณศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ บริเวณ พื้นที่ราบเชิงเขา ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เริ่มมีการทดแทน • ระบบนิเวศภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร ภายในพื้นที่ศูนย์การศึกษาการ พัฒนาห้วยทรายฯ ภูเขาส่วนใหญ่มีการกระจายเป็นหย่อมๆ เลือกทำการสำรวจนกบนภูเขาจำนวน 4 ลูก ได้แก่ เขาเสวยกะปิ เขาทอง-เขาบ่อขิง เขากะปุก เขาเตาปูน รวมถึงบริเวณภายในสถานี เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย (ภาพที่ 4.4-4.7) • ระบบนิเวศเกษตร และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ สำรวจนกของทั้ง 2 พื้นที่ตามการใช้ ประโยชน์ที่ดิน โดยแบ่งเป็น สวนป่า สวนสน และนาข้าว • ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทะเล บริเวณป่าชายเลนที่มีการฟื้นฟู สังคมป่า ชายเลนที่ปลูก ประกอบไปด้วยต้นโกงกาง ถั่วขาว ถั่วดำ แสมขาว ตะบูนดำ เป็นต้น (ภาพที่ 4.4- 4.5) จากการสำรวจนกในบริเวณทั้งอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบนกทั้งหมด 103 ชนิด 34 วงศ์ ดังตารางที่ 4.3 เป็นนกอพยพผ่านจำนวน 3 ชนิด นกอพยพ 65 ชนิด นกประจำถิ่น 66 ชนิด และนกที่ไม่ทราบ สถานภาพ 3 ชนิด รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above