บทที่2_โครงสร้างป่า

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-1 บทที่ 2 โครงสร้างป่า และองค์ประกอบพรรณพืช บทนำ การศึกษาโครงสร้างป่าและองค์ประกอบพรรณพืช รวมถึงการกระจายของสังคมพืชใน พื้นที่ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อม ทำให้สามารถอธิบายถึงพลวัตป่าไม้ (forest dynamics) ที่ เปลี่ยนแปลงไปทั้งในสภาพตามธรรมชาติ และเมื่อมีปัจจัยรบกวน (disturbance factors) นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการกระจายของพรรณดัชนี (indicator species) ในแต่ละชนิดป่าว่ามีการกระจายในรูปแบบใด รวมถึงเป็นการช่วยเสริมข้อมูลด้านความ หลากหลายทางชีวภาพทั้งในส่วนของระบบนิเวศและชนิดพันธุ์ (ecosystem and species diversity) ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการศึกษาในครั้งนี้มุ่งที่จะทำการสำรวจ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในแต่ละส่วน ภายในระบบนิเวศตัวแทนแต่ละแห่งที่ได้รับการคัดเลือก แล้ว ทั้งในส่วนของความหลากหลายของพืชและสัตว์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลัก ๆ ในแต่ละ ระบบนิเวศ นอกจากนั้นผลกระทบหรือการคุกคามต่อระบบนิเวศแต่ละแห่งก็จักได้ดำเนินการ สำรวจด้วยเช่นกัน เพื่อให้การศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิตใน แต่ละระบบ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศในแต่ละแห่ง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จัก ต้องได้รับข้อมูลของสิ่งมีชีวิตในแต่ละส่วนให้สมบูรณ์มากที่สุด พร้อมกับนำไปจัดทำฐานข้อมูลที่ พร้อมนำเสนอต่อสาธารณชนได้ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above