6-1 บทที่ 6 ความหลากหลายของแมลง บทนำ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จากการค้นข้อมูลพบว่าในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นไม่เคยมีการศึกษาหรือการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแมลง มาก่อน ทำให้ไม่มีข้อมูลทุติยภูมิที่จะนำมาอ้างอิงได้ จะมีก็แต่ข้อมูลในส่วนของอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ศึกษาในครั้งนี้และเป็นระบบนิเวศที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งเคยมี การสำรวจชนิดของผีเสื้อกลางวันมาก่อน ในการสำรวจความหลากหลายของแมลงครั้งนี้จะเน้นการ สำรวจแมลงที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศและเป็นแมลงที่พบเห็นได้ทั่วไป จะทำให้ทราบถึงชนิด ของแมลงที่มีอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ อุปกรณ์และวิธีการ (1) การดำเนินงานในภาคสนาม (1.1) สุ่มเก็บตัวอย่างแมลงในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและจดบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจุดเก็บ ตัวอย่าง (ภาพที่ 6-1 ก-จ) (1.2) ในการศึกษาแมลงในเวลากลางวันนั้นจะทำการเก็บแมลงชนิดต่างๆ โดยใช้สวิงจับ แมลง (ภาพที่ 6.1ซ) ในกรณีแมลงที่จับเป็นผีเสื้อต้องทำการบีบอกเพื่อไม่ให้ผีเสื้อขยับปีกและจับใส่ ขวดฆ่าแมลงที่มีโปแตสเซียมไซยาไนด์ (potassium cyanide)เป็นสารฆ่าแมลง แต่เนื่องจากเป็น สารที่อันตรายจึงควรระมัดระวังในการใช้ หรืออาจใช้เอทิลอะซิเตต (ethyl acetate)หยดในก้อน สำลีแล้วใส่ลงไปในขวดฆ่าแมลงก็สามารถทำให้แมลงตายได้เช่นเดียวกัน จากนั้นจึงนำมาในซอง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above