บทที่8_บทสรุป

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

8-1 บทที่ 8 บทสรุป การดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปรากฏ รายละเอียดดังที่ได้กล่าวไปแล้วตั้งแต่บทที่ 1 ซึ่งกล่าวถึงบทนำของโครงการศึกษา บทที่ 2 โครงสร้างและสังคมพืชป่าไม้ บทที่ 3 ความหลากหลายของพรรณพืช บทที่ 4 ความหลากหลาย ของสัตว์ บทที่ 5 ความหลากหลายของปลาและสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ บทที่ 6 ความหลากหลายของ แมลง และบทที่ 7 ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดสามารถกล่าวโดยสรุป ได้ดังนี้ โครงสร้างป่าและสังคมพืช การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการแปลภาพดาวเทียม spot-5 ปี พ.ศ. 2550 สามารถจำแนกพื้นที่ป่าไม้ได้ทั้งหมด 5 ชนิด 1. ป่าชายเลน (Mangrove forest) ป่าชายเลนของพื้นที่อุทยานฯ ได้เสื่อมสภาพและถูกทำลายด้วยตะกอนทรายที่พัดมา จากบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำห้วยทราย ภายหลังจากการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ ทำให้พื้นป่าชายเลน ตื้นเขิน และปกคลุมไปด้วยสันทราย หรือ ตะกอนทรายดังกล่าว ทำให้สังคมพืชในป่าชายเลน ปรับเปลี่ยนเป็นกลุ่มสังคมพืชอื่น ๆ ที่ขึ้นได้ดีในพื้นดินที่มีความเป็นดินทรายจัด โครงสร้างของป่า ชายเลนสามารถจำแนกได้ 2 ชั้นเรือนยอดคือ 1) เรือนยอดชั้นบน (crown layer) มีความสูง ประมาณ 5-10 เมตร พรรณไม้เด่นคือ โกงกางใบเล็ก (Rhizophora. apiculata Blume) และ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata Poir.) และ 2) เรือนยอดชั้นรอง มีความสูงประมาณ 5 รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above