บทที่5_ปลาและสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-1 บทที่ 5 ความหลากหลายของปลา และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ บทนำ พื้นที่บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลน ได้เคยมี รายงานการศึกษาเบื้องต้นในด้านชนิดของสัตว์น้ำ สาหร่ายและหญ้าทะเล รวมทั้งสภาพทาง นิเวศน์บางประการ ซึ่งจัดพิมพ์ลงในหนังสือ “สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม” โดยสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยพบปลาประมาณ 9 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาเศรษฐกิจ และพบกุ้งจำนวน 3 ชนิด นอกจากนี้ยังพบสัตว์พื้นทะเลหลาย ชนิด เช่นไส้เดือนทะเล ไรทะเล โคพีพอด แอมพีพอด และหอย เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, n.d) สำหรับสาหร่ายและหญ้าทะเล นั้น พบจำนวนประมาณ 3 และ 1 ชนิด ตามลำดับ ในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนนี้ ยังได้เคยมีรายงาน พบสาหร่ายวุ้นชนิด Gracilaria longirostis ซึ่งเป็นชนิดที่พบใหม่ในประเทศไทยด้วย (Lewmanomont and Chirapart, 2004) ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินงานโดยทีมงานคณาจารย์และนิสิตปริญญาโท ภาควิชา ชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำรวจความหลากชนิดของปลา สัตว์ พื้นท้องน้ำ สาหร่าย แพลงก์ตอนพืช และพรรณไม้น้ำ ที่แพร่กระจายในบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ รวมทั้งตรวจวัดปัจจัยทางกายภาพและทางเคมีของน้ำบางประการในพื้นที่ศึกษา ซึ่งครอบคลุม พื้นที่ตั้งแต่บริเวณใกล้แหล่งต้นน้ำในเขตศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริจนถึงแหล่งน้ำต่างๆในบริเวณป่าชายเลนและบริเวณชายฝั่งทะเลในเขตอุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่ได้จากการศึกษาสำรวจในครั้งนี้ นอกจากทำ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above