1-1 บทที่ 1 บทนำ คำนำ พื้นที่บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรซึ่งรวมถึงศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ตั้งแต่พื้นที่ บริเวณแนวภูเขาลงมาจวบจนถึงชายฝั่งทะเล ประกอบด้วยระบบนิเวศที่หลากหลายซึ่งยากที่จะ พบในบริเวณอื่น ตั้งแต่ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน ระบบนิเวศภูเขา ระบบ นิเวศเกษตร และระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ป่าเบญจพรรณและป่าเต็ง รัง นอกจากนี้สังคมพืชในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ยังประกอบด้วย สังคมพืชหาดทราย สังคมพืชป่าชายหาด สังคมพืชป่าชายเลน สังคมพืชป่ารุ่น และสังคมพืชชุ่มน้ำจืด นอกจากนี้ยังมี สัตว์ป่าหลากหลายประเภทโดยเฉพาะเนื้อทรายซึ่งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้เรียกบริเวณนี้ว่า “ห้วยทราย” ต่อมาราษฎรได้เข้ามาอาศัยทำกิน บุกรุกแผ้วถางทำลายป่า ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม กอรปกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจากเมืองหลวงลงสู่ภาคใต้ ซึ่งถนนสายนี้ได้แบ่ง ระบบนิเวศบนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นแนวเชื่อมต่อกับระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ภายในเวลา ไม่ถึง 40 ปี ป่าไม้ดั้งเดิมได้ถูกทำลายลงจนไม่เหลือสภาพความเป็นป่า เกิดการพังทลายของผิวดิน ค่อนข้างสูง ทำให้ดินขาดการบำรุงรักษา คุณภาพของดินเสื่อมโทรมกลายเป็นดินทรายและดิน ดานขาดความสมบูรณ์ มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ ประกอบกับฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ จนกระทั่งวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ได้พระราชทานพระราชดำริแก่หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญ ศิริ จักรพันธ์ องคมนตรี นายสุนทร เรืองเล็ก อธิบดีกรมชลประทาน และ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ณ กรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา ความว่า ให้ทำการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ อันหมายถึง พื้นที่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้กลับคืนโดยเร็ว และจากผลการ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above