Page 157

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

4-23 ภาพที่ 4.10 ค่าดัชนีความหลากหลาย ณ บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่าดัชนีความหลากหลายของระบบนิเวศต่างๆ ได้แก่ ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ทะเล ระบบนิเวศเกษตร (บริเวณ พื้นที่รกร้าง สวนป่า และสวนสน ภายในอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิริน) ระบบนิเวศป่าไม้ และระบบนิเวศภูเขา มีค่าเท่ากับ 3.55 3.14 2.23 และ 2.61 ตามลำดับดังภาพที่ 4.11 จากค่าดัชนีความหลากหลายจะพบว่าระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ทะเล และระบบนิเวศเกษตร มีค่าดัชนีความหลากหลายมากกว่าระบบนิเวศป่าไม้ และระบบนิเวศ ภูเขา เนื่องจากระบบนิเวศเกษตร และระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทะเล อยู่ในบริเวณอุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ซึ่งมีพื้นที่ขนาดเล็กและอยู่ในค่ายพระรามหกที่ได้รับการดูแล ฟื้นฟู สภาพอย่างจริงจัง มากกว่าระบบนิเวศป่าไม้ และระบบนิเวศภูเขาที่ตั้งอยู่บริเวณศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีการรบกวนจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ค่อนข้างมาก จึงมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของนก ส่งผลให้การค่าดัชนีความหลากหลาย มากตามไปด้วย


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above