Page 184

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

4-50 (3) สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) จากการสำรวจสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่ศึกษา สามารถจำแนกสัตว์เลื้อยคลานได้เป็น 2 อันดับ 8 วงศ์ 16 ชนิด เช่น เต่านา กิ้งก่าหัวแดง งูเขียวปากแหนบ จิ้งเหลนด้วงลาย และเหี้ย ดัง ตารางที่ 4.10 และภาพที่ 4.13 เป็นต้น สามารถพิจารณาสถานภาพของสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามการจำแนกสถานภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ โดยมี รายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้ พบสัตว์เลื้อยคลานที่มีสถานภาพตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดย จัดเป็นสัตว์คุ้มครอง ทั้งหมด 5 ชนิด คือ เต่านา งูสิงธรรมดา งูสิงหางลาย งูแสงอาทิตย์ และ เหี้ย สถานภาพตามสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2548 จัดเป็นสัตว์ที่มีสถานภาพแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable : VU) 1 ชนิดคือ เต่านา จัดอยู่ ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม(Near Threatened : NT) 1 ชนิด คือ จิ้งเหลนด้วงลาย และจัดอยู่ใน สถานภาพกลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern : LC) 13 ชนิด เช่นกิ้งก่าหัวแดง งูปลิง และ จิ้งเหลนบ้าน เป็นต้น สถานภาพตามสมาพันธ์อนุรักษ์โลก IUCN 2006 จัดเป็นสัตว์ที่มีสถานภาพมีแนวโน้มใกล้ สูญพันธุ์ (Vulnerable : VU) 1 ชนิด คือ เต่านา และจัดอยู่ในสถานภาพข้อมูลไม่เพียงพอ ( Data Deficient : DD) 1 ชนิด คือ จิ้งเหลนด้วงลาย และนอกจากการจำแนกสัตว์เลื้อยคลานตามสถานภาพดังกล่าวข้างต้น พบว่าในการ สำรวจครั้งนี้พบชนิดสัตว์เลื้อยคลานซึ่งจัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น (Endemic) 1 ชนิด คือ จิ้งเหลนด้วง ลาย รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above