Page 194

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-4 โฟมให้เป็นหลุมเพื่อให้ตัวอย่างนอนลงไปและครีบหลัง ครีบก้น ครีบท้อง และครีบหางของตัวอย่าง ปลาอยู่ชิดหรือสัมผัสกับแผ่นโฟม) กางครีบหลัง ครีบก้น ครีบท้อง และครีบหางของตัวอย่างให้อยู่ ในสภาพปกติโดยใช้เข็มปักตัวอย่างแมลงปักบนครีบให้ครีบต่าง ๆ กางในสภาพปกติ จากนั้นใช้ พู่กันทาน้ำยาฟอร์มาลีนเข้มข้นบนครีบใหทั้่ว ปล่อยทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 10 นาที (ระหว่างนี้ต้อง ระวังไม่ให้ตัวอย่างแห้ง) เมื่อครีบต่าง ๆ ถูกตรึงเรียบร้อยแล้วจึงดึงเข็มปักแมลงออก ในกรณีการเก็บข้อมูลตัวอย่างสด นำตัวอย่างไปถ่ายรูป หรือจดบันทึกข้อมูลสีและ ลวดลายของตัวอย่างที่ยังอยู่ในสภาพสด แล้วจึงนำตัวอย่างไปแช่ในน้ำยาฟอร์มาลีน (10%) พร้อม ป้ายตัวอย่างสนามเพื่อทำการตรึงตัวอย่าง (1.3.3) การตรึงตัวอย่าง (Fixation of specimens) โดยใช้น้ำยาฟอร์มาลินตรึงเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่างๆของตัวอย่างเพื่อให้หยุดการสลายตัว การตรึงตัวอย่าง โดยใส่ตัวอย่างในภาชนะที่มีฝาปิดอย่างมิดชิดที่มีน้ำยาฟอร์มาลีน 10% (สาร ละลายฟอร์มาลีน 10% = Formaldehyde 40% (1) : น้ำ (9) (1.3.4) การเก็บรักษาตัวอย่าง (Preservation of specimens) นำตัวอย่างที่ได้ดองไว้ในน้ำยาฟอร์มาลีน 10% เป็นเวลา 1 ~ 2 อาทิตย์ (7-14 วัน) หลังจากนั้นนำตัวอย่างไปแช่ในน้ำไว้ 1 วัน โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นระยะๆ เพื่อชะล้างน้ำยาฟอร์มา ลีนออกจากตัวอย่าง แล้วนำไปดองในแอลกอฮอลล์ (ethanol 70-75%) เพื่อเก็บรักษาต่อไปในที่ที่ มีอุณหภูมิไม่สูงและมืด (2) การศึกษาตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ นำตัวอย่างที่เก็บรักษาไว้ในฟอร์มาลีน 10% ไม่น้อยกว่า 7-14 วัน เทน้ำยาเก่าออก และ นำไปแช่ให้น้ำไหลผ่านประมาณ 1 วัน จากนั้นนำตัวอย่างใส่เอทิลแอลกอฮอล์ 75% นำตัวอย่างปลาที่เก็บรวมรวมมาจากภาคสนาม มาศึกษาแยกชนิดโดยใช้ลักษณะทาง สัณฐานวิทยา ตาม Hubbs and Lagler (1958) และ Nakabo (2002) รวมทั้ง จดบันทึกข้อมูลลง ในแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล (data sheet) เปรียบเทียบลักษณะของตัวอย่างโดยใช้เอกสารทางวิชาการต่างๆ ทางด้านอนุกรมวิธาน ของปลาน้ำจืดในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอกสารทางวิชาการที่ใช้เป็นหลักคือ Kottelat (1993, 2001), Roberts (1989,1993), Rainboth (1996), Fish team of the Tran Project (2002), Matsuura and Kimura (2005), อุกกฤต (2007), Smith (1945), Carpenter and Niem รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above