1-5 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งทางระบบนิเวศและ ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้สามารถใช้ในการดำเนินงานคุ้มครองความหลากหลายทาง ชีวภาพเชิงพื้นที่ 2) ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพเผยแพร่ในกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร (Clearing House Mechanism) 3) แผนที่การแพร่กระจายและถิ่นอาศัยที่เหมาะสมของชนิดพันธุ์ใน Red Data และชนิด พันธุ์เฉพาะถิ่น (ถ้ามี) 4) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพให้มี สมรรถนะในการสำรวจและติดตามตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนจัดเก็บและ ใช้ข้อมูลในการปฏิบัติงาน 5) นโยบาย มาตรการ และกลไก ที่จำเป็นต่อการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่โครงการ 6) ประชาชนมีจิตสำนึกและตะหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรและตลอดจนมีส่วนร่วมต่อ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ข้อมูลเป็นของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above