Page 221

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-31 การศึกษาความหลากหลายของสัตว์พื้นท้องน้ำ สัตว์พื้นท้องน้ำ (Benthos) หมายถึง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่หรือเกาะพักอยู่บน พื้นท้องน้ำที่เป็นดิน ตะกอน หิน กรวด ทราย หรือฝังตัวอยู่ในดินตะกอน หรือกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูก สันหลังที่มีขนาดใหญ่กว่าตะแกรงร่อนมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเบอร์ 30 ขนาดช่องตา 0.589 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นสัตว์หากินหรือเกาะตามพื้นท้องน้ำ ดังนั้น สัตว์ที่พบในน้ำจืดมักได้แก่ กลุ่มแมลง น้ำ (aquatic insect) สัตว์กลุ่มกุ้ง ปู (crustaceans) หอย (mollusks) ไส้เดือนน้ำ (annelids) หนอนตัวกลม (roundworms) หนอนตัวแบน (flatworm) เป็นต้น สัตว์พื้นท้องน้ำแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันออกไป การตรวจสอบ คุณภาพน้ำโดยใช้สัตว์พื้นท้องน้ำจึงจำเป็นต้องจำแนกว่าเป็นสัตว์ชนิดใด เพราะสัตว์แต่ละชนิดมี ความทนทานต่อมลพิษในน้ำไม่เท่ากัน สัตว์พื้นท้องน้ำกลุ่มใหญ่ที่สุดคือแมลงน้ำซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ พื้นฐานทั่วไปในการจัดจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ โดยพิจารณาจากลักษณะภายนอกและภายใน ของแมลงน้ำว่าเหมือนหรือต่างกันหรือไม่อย่างไร พิจารณาจากรูปแบบการเจริญของแมลงน้ำ พิจารณาถึงพฤติกรรมความสัมพันธ์ของแมลงน้ำกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการแพร่กระจายตามถิ่น ที่อยู่อาศัย การสำรวจความหลากหลายและจัดจำแนกชนิดของสัตว์พื้นท้องน้ำในครั้งนี้ ได้รับความ อนุเคราะห์ดำเนินการโดยทีมงานของอาจารย์พัชรี ครูขยัน ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังต่อไปนี้ (1) วิธีการศึกษา รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร การสำรวจและศึกษาสัตว์พื้นท้องน้ำบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2550 และ วันที่ 16 – 17 มกราคม 2551 การเก็บตัวอย่างโดยใช้อุปกรณ์ (grab) เก็บดินเลนในระดับผิวหน้า หรือเก็บพร้อมกับการลากอวนจับปลา (ภาพที่ 5.72) ในจุดสำรวจซึ่งกำหนดไว้ 8 จุด และในแต่ละ จุดสำรวจมีสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปดังนี้ (ภาพที่ 5.73)


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above