Page 242

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-52 รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร การเก็บตัวอย่างพรรณไม้น้ำ เก็บตัวอย่างพรรณไม้น้ำโดยวิธีสุ่มเก็บ บริเวณแหล่งน้ำในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตะ แปด เป็นต้น ตัวอย่างที่ได้เก็บรักษาในรูปตัวอย่างแห้งบนกระดาษ herbarium sheet เพื่อการ ตรวจวิเคราะห์ชนิด และส่วนหนึ่งนำมาตรวจวัดปริมาณมวลชีวภาพ การเก็บตัวอย่างน้ำ ระหว่างการสำรวจเก็บข้อมูล ตรวจวัดอุณหภูมิและความเค็มของน้ำ ในแต่ละจุดเก็บ ตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของน้ำ อื่นๆ ได้แก่ ความขุ่น ความเป็นกรด–ด่าง ความเป็นด่าง ความกระด้าง รวมทั้งปริมาณสารอาหาร ต่างๆ (ไนไตรท์ ไนเตรท์ แอมโมเนีย และออร์โธฟอสเฟต) และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (dissolved oxygen) เป็นต้น Phosphate-phosphorus, ammonia-N, nitrate-N และ nitrite-N ตรวจวิเคราะห์ตามวิธีของ Strickland และ Parsons (1972) (4) ผลการศึกษา จากการสำรวจบริเวณจุดเก็บตัวอย่าง 12 จุด ครอบคลุมพื้นที่ในป่าชายเลนและคลองย่อย บริเวณด้านหน้าค่ายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ระหวา่งชว่งปลายฤดูฝน ในวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2550 ช่วงฤดูแลง้ในวันที่ 16 – 17 มกราคม 2551 และช่วงต้นฤดูฝน ในวันที่ 7 และ 9 พฤษภาคม 2551 พบว่าบริเวณจุดเก็บตัวอย่าง 10 จุด ซึ่งเป็นคลองย่อยในเขตป่าชายเลน มีความหลากหลายของสาหร่ายทะเลไม่มากนัก สาหร่ายทะเล ที่พบอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีแดงและสาหร่ายสีเขียว โดยจำแนกเป็นสาหร่ายสีแดง 2 ชนิด ได้แก่ Gracilaria tenuistipitata และ Hydropuntia edulis ซึ่งพบแพร่กระจายเฉพาะในจุดสำรวจที่ 7 และสาหร่ายสีเขียว 2 ชนิด ได้แก่ Ulva clathrata และ Chaetomorpha crassa (ภาพที่ 5.78) ใน การศึกษาครั้งนี้ ความหลากหลายของสาหร่ายทะเลมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงฤดูกาล โดยพบ การแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลในบริเวณจุดสำรวจที่ 7 ในช่วงปลายฤดูฝน (ตุลาคม 2550)


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above