Page 250

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-60 8. Tetraedron enorme (Ralfs) Hansgirg เซลล์อยู่เดี่ยวๆ มองด้านบนรูปร่างเซลล์สี่เหลี่ยม มีมุม ปลายเป็นพูแตกออกเป็น 2 – 3 แฉก มีโค โลพลาสต์เป็นแผ่น 9. Scenedesmus dimorphus (Turpin) Kützing เซลล์เรียงกันเป็นแถวเดี่ยว 1 แถว ประกอบด้วยเซลล์รูปกระสวย 4 – 8 เซลล์ เซลล์ที่อยู่กลางแถว หัวท้ายแหลมและตรง เซลล์ที่อยู่ริมเป็นรูปวงเดือนและหัวท้ายแหลม 10. Scenedesmus quadricauda (Turpin) Brébisson เซลล์เรียงกันเป็นแถวเดี่ยวๆ ประกอบด้วยเซลล์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 4 เซลล์ มุมเซลล์ของ เซลล์ริมสุด มีหนามยาวโค้งมุมละ 1 อัน เซลล์กลางแถวไม่มีหนาม 11. Dictyosphaerium ลักษณะเป็นโคโลนีรูปกลมหรือรี ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างกลมหรือรี จำนวน 8 – 32 เซลล์ แต่ละเซลล์ อยู่ติดกันโดยมีก้านหรือสายใสๆ ซึ่งแผ่เป็นรูปรัศมี ก้านใสนี้แยกออกเป็น 2 แฉก แต่ละแฉกแยกเป็น 2 แขนงและมีเซลล์ 1 เซลล์ที่ปลาย มีสารเมือกใสๆ หุ้มรอบโคโลนี แต่ละเซลล์มีคลอโรพลาสต์รูปถ้วย 12. Botryococcus เป็นโคโลนีรูปทรงกลมหรือรี ประกอบด้วยเซลล์รูปรี หรือทรงกลม อยู่เรียงกันแน่นในแนวรัศมี โดยมี สารเมือกเหนียวๆ แต่ละโคโลนีอาจเชื่อมติดกับโคโลนีอื่นโดยมีสารเมือกเป็นเส้นหนา 13. Coelastrum microporum Naegeli โคโลนีแบบซีโนเบียม (coenobium) รูปปิรามิด ประกอบด้วยเซลล์จำนวน 4 – 32 เซลล์กรวยปลาย ยอดตัด ฐานของรูปกรวยเว้า เซลล์เรียงต่อกันโดยใช้มุมของส่วนฐานแตะกัน ทำให้เห็นช่องว่าง ระหว่างเซลล์ค่อนข้างกว้าง โดยเฉพาะช่องว่างกลางโคโลนี 14. Phacus longicauda (Ehremberg.) Dujardin เซลล์รูปไข่ขอบ 2 ด้านไม่สมมาตรกัน ปลายล่างสุดของเซลล์มีห่างยาวแหลม โค้งเล็กน้อย ปลายบนสุด ของเซลล์กลม บนเซลล์มีเส้นบางๆพาดตามความยาวเซลล์ พารามัยลอนเป็นแผ่นกลมใหญ่ 1 แผ่น อยู่กลางเซลล์ คลอโรพลาสต์เป็นแผ่นกลมอยู่บริเวณขอบเซลล์ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above