Page 270

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

6-2 กระดาษสามเหลี่ยมซึ่งเป็นอุปกรณ์เก็บแมลงชั่วคราวที่ใช้ในงานภาคสนาม ถ้าเป็นแมลงปอก็จับ โดยใช้สวิงโฉบและนำมาใส่ในซองกระดาษสามเหลี่ยมทันทีโดยไม่ต้องฆ่าให้ตายก่อน เพื่อป้องกัน ไม่ให้ส่วนท้องหักได้ง่าย ส่วนแมลงในกลุ่มอื่นๆ เช่น ด้วง ตั๊กแตน มวน ผึ้ง ต่อ แตน แมลงวัน ก็ใช้ สวิงโฉบจับเช่นเดียวกันและจับใส่ขวดฆ่าแมลงโดยตรงทันที (1.3) นำแมลงที่เก็บได้มาจัดรูปร่างโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ต้องจัดรูปร่างโดยเน้นปีก เช่น ผีเสื้อ แมลงปอ แมลงวัน ผึ้ง ต่อ แตน ต้องนำแมลงมาจัดรูปร่างบนแท่นจัดรูปร่าง (setting board) และกลุ่มที่ต้องจัดรูปร่างโดยเน้นขาเช่น ด้วง ตั๊กแตน และมวนต้องนำมาจัดรูปร่างบนแผ่น โฟม จากนั้นติดกระดาษบันทึกรายละเอียดประจำตัวแมลง (1.4)ในการศึกษาแมลงในเวลากลางคืนนั้นจะทำการเก็บแมลงชนิดต่างๆ โดยใช้กับดัก แสงไฟ (light trap) ซึ่งใช้แสงไฟ 2 แบบคือ หลอดไฟ black light (ภาพที่ 6.1ช)ซึ่งให้แสงสีม่วง ขนาด 20 วัตต์ใช้ต่อกับแบตเตอรี่รถยนต์ใช้ในกรณีที่พื้นที่ไม่มีไฟฟ้า และหลอด mercury vapor (ภาพที่ 1ฉ)หรือที่เรียกว่าหลอดแสงจันทร์ขนาด 160 วัตต์ใช้ในพื้นที่ที่มีไฟฟ้า กับดักแสงไฟนี้ใช้ หลอดไฟแขวนไว้หน้าจอผ้าสีขาวขนาด 2x2 เมตร ซึ่งแสงไฟที่กระทบบนผ้าสีขาวจะสามารถดึงดูด ให้แมลงบินเข้ามาเล่นแสงไฟและเกาะบนจอผ้า (1.5) การเก็บตัวอย่างแมลงกลางคืนนั้นจะเลือกเก็บแมลงที่ต้องการบนจอผ้า โดยใช้ขวด ฆ่าแมลงที่มีโปแตสเซียมไซยาไนด์ (potassium cyanide)เป็นสารฆ่าแมลง ครอบลงไปบนตัวแมลง และรีบปิดฝาทันที รอจนแมลงตายสนิทจึงนำไปทำการจัดรูปร่างต่อไป สำหรับผีเสื้อกลางคืนขนาด ใหญ่นั้นเมื่อจับได้จะทำการฉีดแอลกอฮอล์ 95% เข้าไปที่ส่วนอกเพื่อทำให้ผีเสื้อตายทันทีเพื่อรักษา สภาพปีกให้สมบูรณ์มากที่สุด จากนั้นจึงนำไปจัดรูปร่าง สำหรับด้วงขนาดเล็กสามารถจับใส่ขวด แอลกอฮอล์ได้ทันทีแล้วจึงนำไปติดบนกระดาษสามเหลี่ยม (2) การดำเนินงานในห้องปฏิบัติการ (2.1) นำแมลงเข้าอบในตู้อบแมลงที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อให้ตัวอย่างแมลงแห้งสนิท (2.2) นำแมลงแต่ละตัวมาติดแผ่นบันทึกข้อมูลประจำตัวแมลง โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ คือ วันที่เก็บ สถานที่เก็บ พิกัดทางภูมิศาสตร์ และชื่อผู้เก็บ (Boror et al., 1989) (2.3) ทำการจำแนกชนิดแมลงแต่ละตัวโดยใช้หนังสือคู่มือต่างๆ ช่วยในการจำแนกได้แก่ (เกรียงไกร, 2540), (เกรียงไกร และ จารุจินต์, 2551), (ฉวีวรรณ, 2533), (พิสุทธิ์, 2538), (สมหมาย รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above