7-9 (2) ข้อมูลลักษณะกายภาพของพื้นที่ ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จากข้อมูล DEM ความละเอียด 30x30 เมตร นำมาคำนวณลักษณะทางกายภาพของ พื้นที่ อันได้แก่ ความสูง (elevation) ความลาดชัน (slope) ทิศด้านลาด (aspect) และเงาเขา (hillshade) ซึ่งมีรูปแบบข้อมูลเป็น Raster format สามารถนำมาใช้อธิบายลักษณะกายภาพของ พื้นที่ได้ดังนี้ พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ มีค่าความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 1-8 เมตร ความสูง เฉลี่ย 4 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบ มีความลาดชัน 0 – 5.44 องศา (0 – 9.52 %) ความลาดชันเฉลี่ย 0.87 องศา (1.52 %) พื้นที่ลาดชันส่วนใหญ่เอียงไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีความสูงระหว่าง 20 – 290 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยจุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ยอดเขาเสวยกะปิ พื้นที่มีความลาดชัน ระหว่าง 0 -48.46 องศา (0 – 112.87 %) ความลาดชันเฉลี่ย 4.65 องศา (8.39 %) โดยส่วนใหญ่ พื้นที่มีความลาดชันเอียงไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อมูลที่ได้ ทำการ reclassify เพื่อกำหนดช่วงชั้นของข้อมูล แล้วคำนวณหาเนื้อที่ ครอบคลุมในแต่ละช่วงชั้นความสูง ความลาดชัน และทิศด้านลาด ได้ข้อมูลตามตารางที่ 7.2 - 7.5 และ ภาพที่ 7.5 – ภาพที่ 7.9 แสดงข้อมูลความสูง (elevation) ความลาดชัน (slope) ทิศด้านลาด (aspect) และข้อมูลเงาเขา (hillshade) ของพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ และพื้นที่ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับข้อมูลเงาเขา (hillshade) มักจะใช้ในการตกแต่งภาพให้มีความสูงต่ำดูเหมือน สภาพพื้นที่จริงมากขึ้น เช่นนำมาตกแต่งภาพดาวเทียม spot บริเวณพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังภาพที่ 7.10 ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ จากข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า พื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรมีลักษณะเป็นหินและตะกอนยุคควอเทอร์นารี (อายุ 1.8 ล้านปี จนถึง ปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) เป็นตะกอนที่สะสมตัวโดยน้ำทะเลที่เกิดจากคลื่น (Coastal wave-dominated deposits: Qms) ลำดับชั้นตะกอนประกอบด้วยชั้นทรายร่วนเป็นส่วน ใหญ่ เม็ดทรายมีรูปร่างมนถึงเกือบมน มีการคัดขนาดดี มักพบเปลือกหอยปะปนด้วย นอกจากนั้น ลากูนที่อยู่หลังสันดอนหรืออยู่ระหว่างชุดสันทราย อาจพบเศษซากพืชผุปะปนในตะกอนทรายด้วย สำหรับพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะ
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above