7-18 เป็นหินและตะกอนยุคควอเทอร์นารีเช่นเดียวกัน แต่เป็นตะกอนที่สะสมตัวบนบก ประเภทตะกอน เศษหินเชิงเขา (Colluvial deposits: Qc) เป็นตะกอนที่เกิดจากการผุพังของหินแข็งอยู่กับที่และที่ สะสมตัวตามเชิงเขา ลำดับชั้นตะกอนส่วนใหญ่ประกอบด้วย ชั้นทรายที่มีดินเหนียวปน เม็ด ตะกอนมีรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม และมีการคัดขนาดไม่ดี หรือชั้นทรายแป้งหรือทรายละเอียดปนดิน เหนียวที่ไม่แสดงลักษณะโครงสร้างใด ๆ ชุดตะกอนมีองค์ประกอบที่แปรผันตามหินต้นกำเนิด และ บางส่วนของพื้นที่พบมีลักษณะของกลุ่มหินแกรนิตยุคครีเทเซียส (Kgr) เป็นหินแกรนิต ไบโอไทต์- มัสโคไวท์แกรนิต เนื้อดอก สีเทา รายละเอียดข้อมูลชนิดหินแสดงไว้ในตารางที่ 7.6 และภาพที่7.11 ตารางที่ 7.6 ข้อมูลธรณีวิทยา พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ชนิดหิน อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ทรายฯ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ Qmc: Coatal wave-dominated 3.03 1,893.75 - - ตะกอนชายฝั่งทะเลที่เกิดจากคลื่น Qc: Colluvial deposits - - 13.40 8,375.00 ตะกอนเศษหินเชิงเขา Kgr: - - 4.62 2,887.50 หินแกรนิต ไบโอไทต์-มัสโคไวท์แกรนิต ที่มา: กรมทรัพยากรธรณี ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ลักษณะทางปฐพีวิทยา จากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดิน พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร พบมีลักษณะดินจำนวน 4 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 3, 18, 20 และ 43 ส่วนพื้นที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบมีลักษณะดินจำนวน 8 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 40, 40/44, 40B, 41, 44, 44B, 44C, และ 62 รายละเอียดตามตารางที่ 7.7 และภาพที่ 7.12 และอธิบายรายละเอียดของกลุ่มชุดดินตามท้ายตารางที่ 7.7
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above