Page 361

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

7-40 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ มีกรอบการจัดการพื้นที่ที่ค่อนข้างชัดเจนและได้ผล เนื่องจากเป็น โครงการในพระราชดำริที่สามารถนำผลที่ได้จากการดำเนินการต่าง ๆ ไปเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อ ส่งเสริมในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้ และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้ สามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพในการเป็นข้อมูลพื้นฐานต่อการวางแผน การกำหนดนโยบาย หรือกิจกรรมต่าง ๆ ใน พื้นที่ต่อไปได้ จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ พบว่า พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร นอกจากมีการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผลแล้ว ยังมีกิจกรรม ส่งเสริมในเรื่องอนุรักษ์ เช่น มีศูนย์ศึกษาและสาธิตการอนุรักษ์พลังงาน ค่ายสิ่งแวดล้อม ค่าย อนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมการขี่จักรยานในพื้นที่ และการเดินชมระบบนิเวศน์ป่าชายเลน เป็นต้น สำหรับพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก็มีการจัดการพื้นที่ และ การดำเนินกิจกรรมต่างในด้านต่าง ๆ ที่ได้ผลและสามารถใช้เป็นตัวอย่างเพื่อการจัดการพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นด้านชุมชน การเกษตร ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ และจากการได้สำรวจพื้นที่ ตลอดจนได้เดินสำรวจในพื้นที่ป่าบนภูเขา พบว่า พื้นที่ศูนย์ศึกษาห้วยทรายฯ มีศักยภาพในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมขับรถชมวิว หรือขี่จักรยานใน เส้นทางที่มีอยู่แล้ว และการเดินเท้าในเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งมีอยู่แล้วจำนวน 1 เส้นทาง คือ เส้นทางศึกษาระบบป่าเปียกบริเวณเขาเสวยกะปิด้านทิศตะวันตก (ด้านหน้าอ่างเก็บน้ำห้วยตะ แปด) เป็นต้น โดยในการศึกษานี้จะขอเสนอให้มีการจัดทำเส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติ เพิ่มเติม จำนวน 2 เส้นทาง ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพ และเพิ่มคามหลากหลายของแหล่ง ท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอชะอำ ที่จะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติได้ ดังนี้ (1) เส้นทางเดินเขึ้นเขาเสวยกะปิด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยช่วงแรกระยะทางประมาณ 373.31 เมตร จะเดินถึงจุดเด่นที่ 1 เป็นหน้าผาจุดชมวิวที่สามารถชมวิวได้ 3 มุมมอง คือ สนาม กอล์ฟ อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด และหน้าผาหินที่สวยงามบนยอดเขาเสวยกะปิ ซึ่งตลอดทาง สามารถศึกษาสภาพสังคมป่าเต็งรังผสมได้ แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 113.98 เมตร จนถึง จุดเด่นที่ 2 จะพบสภาพทุ่งหญ้าป่าเต็งรังที่สวยงาม แสดงแผนที่เส้นทางเดินเท้าไว้ในภาพที่ 7.19 และแสดงรูปภาพจุดเด่นและมุมมองต่าง ๆ ในภาพที่ 7.20


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above