Page 373

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

8-7 ชนิด ได้แก่ Gracilaria tenuistipitata และ Hydropuntia edulis ซึ่งพบแพร่กระจายเฉพาะในจุด สำรวจที่ 7 และสาหร่ายสีเขียว 2 ชนิด ได้แก่ Ulva clathrata และ Chaetomorpha crassa (ภาพ ที่ 5.78) ในการศึกษาครั้งนี้ ความหลากหลายของสาหร่ายทะเลมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงฤดูกาล โดยพบการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลในบริเวณจุดสำรวจที่ 7 ในช่วงปลายฤดูฝน (ตุลาคม 2550) และต้นฤดูฝน (พฤษภาคม 2551) มากกว่าช่วงฤดูแล้ง (มกราคม 2551) และทัลลัสของ ตัวอย่างสาหร่ายในช่วงฤดูฝนมีความสมบูรณ์แข็งแรงกว่าทัลลัสที่พบในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 มกราคม 2551 พบว่าในบริเวณจุดสำรวจที่ 11 และ 12 ซึ่งอยู่ด้านหน้าบริเวณค่ายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม น้ำมีสภาพกลายเป็นน้ำ กร่อย โดยตรวจวัดความเค็มได้ 29 ppt ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากในช่วงการสำรวจครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2550 ที่แหล่งน้ำมีสภาพเป็นน้ำจืด ในจุดสำรวจดังกล่าวทั้ง 2 จุด ในช่วง การสำรวจวันที่ 9 พฤษภาคม 2551 น้ำมีความเค็มลดลง โดยวัดความเค็มของน้ำได้ 13 และ 14 ppt ในจุดสำรวจที่ 11 และ 12 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้ทำให้ความหลากหลาย ของแพลงก์ตอนพืชและพรรณไม้น้ำเปลี่ยนแปลงไป โดยพบแพลงก์ตอนพืชทะเลบางชนิดใน บริเวณจุดสำรวจทั้งสอง ในขณะที่แพลงก์ตอนน้ำจืดที่ตรวจพบได้ในช่วงปลายฤดูฝนตรวจพบได้ ลดลง และสิ่งที่พบเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนคือพรรณไม้น้ำที่แพร่กระจายอย่างหนาแน่นใน บริเวณจุดสำรวจนี้ ซึ่งพบจำนวน 9 ชนิด ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 แต่ในช่วงเดือนมกราคม 2551 พรรณไม้น้ำเกือบทั้งหมดมีสภาพเน่าตายหมด โดยเฉพาะพรรณไม้น้ำประเภทผักตบชวา ซึ่งพบขึ้น หนาแน่นมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม 2550 ในช่วงที่สภาพน้ำเป็นน้ำจืด แต่กลับไม่พบเลยในช่วง เดือนมกราคมและพฤษภาคม 2551 เมื่อน้ำเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำกร่อย น้ำมีความเค็มเพิ่มขึ้น สำหรับจุดสำรวจที่ 1 ถึง 6 และ 8 ถึง 10 ในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรนั้น มีการ แพร่กระจายและมีความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชแตกต่างกัน จุดสำรวจที่มีความ หลากหลายของแพลงก์ตอนพืชมากที่สุดในบริเวณนี้ ได้แก่ จุดสำรวจที่ 1 และ 2 นอกจากนี้ในการสำรวจความหลากหลายของสาหร่าย แพลงก์ตอนพืช และพรรณไม้น้ำ ในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจุดสำรวจ 4 จุด ได้แก่ จุด สำรวจที่ 1 อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด จุดสำรวจที่ 2 อ่างเก็บน้ำห้วยกระปุก จุดสำรวจที่ 3 หนองห้วย ใหญ่ จุดสำรวจที่ 4 ลำห้วยตะแปด นั้น จุดสำรวจที่พบความหลากหลายของพรรณไม้น้ำมากที่สุด ได้แก่ จุดสำรวจที่ 3 โดยพบชนิดพรรณไม้น้ำ 9 ชนิด รองลงมาคือจุดสำรวจที่ 4 พบ 6 ชนิด บริเวณ ที่พบชนิดพรรณไม้น้ำน้อยที่สุดได้แก่จุดสำรวจที่ 1 พบ 2 ชนิด อย่างไรก็ตามในการสำรวจช่วงฤดู แล้ง วันที่ 16 – 17 มกราคม 2551 และต้นฤดูฝน วันที่ 9 พฤษภาคม 2551 นั้น พบว่า ชนิดและการ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above