Page 375

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

8-9 2 ข้อมูลลักษณะกายภาพของพื้นที่ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ มีค่าความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 1-8 เมตร ความสูงเฉลี่ย 4 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบ มีความลาดชัน 0 – 5.44 องศา (0 – 9.52 %) ความลาดชันเฉลี่ย 0.87 องศา (1.52 %) พื้นที่ลาดชันส่วนใหญ่เอียง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีความสูงระหว่าง 20 – 290 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยจุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ยอดเขาเสวยกะปิ พื้นที่มีความลาด ชันระหว่าง 0 -48.46 องศา (0 – 112.87 %) ความลาดชันเฉลี่ย 4.65 องศา (8.39 %) โดยส่วน ใหญ่พื้นที่มีความลาดชันเอียงไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออก เฉียงใต้ ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ จากข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรมีลักษณะเป็นหินและตะกอนยุคควอเทอร์นารี (อายุ 1.8 ล้าน ปี จนถึงปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) เป็นตะกอนที่สะสมตัวโดยน้ำทะเลที่เกิด จากคลื่น (Coastal wave-dominated deposits: Qms) ลำดับชั้นตะกอนประกอบด้วยชั้นทราย ร่วนเป็นส่วนใหญ่ เม็ดทรายมีรูปร่างมนถึงเกือบมน มีการคัดขนาดดี มักพบเปลือกหอยปะปนด้วย นอกจากนั้นลากูนที่อยู่หลังสันดอนหรืออยู่ระหว่างชุดสันทราย อาจพบเศษซากพืชผุปะปนใน ตะกอนทรายด้วย สำหรับพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นหินและตะกอนยุคควอเทอร์นารีเช่นเดียวกัน แต่เป็นตะกอนที่สะสมตัวบน บก ประเภทตะกอนเศษหินเชิงเขา (Colluvial deposits: Qc) เป็นตะกอนที่เกิดจากการผุพังของ หินแข็งอยู่กับที่และที่สะสมตัวตามเชิงเขา ลำดับชั้นตะกอนส่วนใหญ่ประกอบด้วย ชั้นทรายที่มีดิน เหนียวปน เม็ดตะกอนมีรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม และมีการคัดขนาดไม่ดี หรือชั้นทรายแป้งหรือทราย ละเอียดปนดินเหนียวที่ไม่แสดงลักษณะโครงสร้างใด ๆ ชุดตะกอนมีองค์ประกอบที่แปรผันตามหิน ต้นกำเนิด และบางส่วนของพื้นที่พบมีลักษณะของกลุ่มหินแกรนิตยุคครีเทเซียส (Kgr) เป็น หินแกรนิต ไบโอไทต์-มัสโคไวท์แกรนิต เนื้อดอก สีเทา ลักษณะทางปฐพีวิทยา จากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดิน พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร พบมีลักษณะดินจำนวน 4 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 3, 18, 20 และ 43


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above